เทวาธิปไตย (อังกฤษ: Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้างๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือแรงบันดาลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยเน (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่กลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของสถาบันศาสนาที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลฆราวาส รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy)
ระบบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่นๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยอำนาจของพระเจ้า” (By the Grace of God)
เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่างๆ ของรัฐบาลที่ปกครองฆราวัสจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างฆราวัสจักรและศาสนจักร
การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ศาสนายูดาย, ศาสนาอิสลาม, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาฮินดู, พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก, อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์, โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน
ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 1453 และของจักรวรรดิคาโรลิเกียนระหว่าง ค.ศ. 800 ถึง ค.ศ. 888 หรือในปัจจุบันในการปกครองของอาณาจักรพระสันตะปาปา
การเมืองการปกครองไทย
ความทรงจำ
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
ศักดินาไทย
ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงพื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงพื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
เมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ธรรมมะที่สำคัญที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ ของพระเจ้าแผ่นดิน
1. ทาน การให้ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ ของพระเจ้าแผ่นดิน
2. สีล ความประพฤติ
3. ปริจจาค การบริจาค
4. อาซซว ความเที่ยงตรง
5. มททว ความละมุนละไม
6. ตป การขจัดเผาผลาญความชั่ว
7. อกโกธ ความไม่โกรธ
8. อหิงสา ความไม่เบียดเบียนกัน
9. ขนติ ความอดทน
10. อวิโรธน ความไม่ประพฤติผิดธรรม
ธรรมะ 4 ประการ ได้แก่
1. พิจารณาความชอบหรือความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์
2. รักษาพระนครและขอบฑสีมา ให้สุขเกษมโดยยุติธรรม
3. ทะนุบำรุงบุคคลผู้มีศีลธรรม
4. เพิ่มพูนพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม
1. พิจารณาความชอบหรือความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์
2. รักษาพระนครและขอบฑสีมา ให้สุขเกษมโดยยุติธรรม
3. ทะนุบำรุงบุคคลผู้มีศีลธรรม
4. เพิ่มพูนพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม
พระราชจรรยานุวัตร 12 ประการ คือ พระราชจรรยานุวัตรอันเป็นที่ตั้งแห่งกายยึดเหนี่ยวน้ำใจประชาชน ได้แก่
1. ควรพระราชทานโอวทและอนุเคราะห์ข้าราชการอาณาประชาราษฎรทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
2. ความทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
3. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยยศ
4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดีและคหบดีชน
5. ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนโดยสมควรแก่ฐานานุรูป
6. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ
7. ควรทรงอนุรักษ์ฝูงเนื้อและนกโดยไม่ให้ผู้ใดเบียดเบียนทำอันตรายจนสูญพันธุ์
8. ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ประกอบกิจที่ไม่ชอบด้วยความธรรม ชักนำให้ตั้งอยู่ในกุศลจิต ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9. ควรพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ขัดสนตามสมควร
10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญบาปกุศลให้ประจักษ์ชัด
11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอคนียสถาน
12. ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตประรถนาลาภที่ไม่ควรได้
1. ควรพระราชทานโอวทและอนุเคราะห์ข้าราชการอาณาประชาราษฎรทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
2. ความทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
3. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยยศ
4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดีและคหบดีชน
5. ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนโดยสมควรแก่ฐานานุรูป
6. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ
7. ควรทรงอนุรักษ์ฝูงเนื้อและนกโดยไม่ให้ผู้ใดเบียดเบียนทำอันตรายจนสูญพันธุ์
8. ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ประกอบกิจที่ไม่ชอบด้วยความธรรม ชักนำให้ตั้งอยู่ในกุศลจิต ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9. ควรพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ขัดสนตามสมควร
10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญบาปกุศลให้ประจักษ์ชัด
11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอคนียสถาน
12. ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตประรถนาลาภที่ไม่ควรได้
การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
เมื่อพิจารณากันในบริบทปัจจุบันเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยก็ถือได้ว่าได้จัดการให้มีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อเทียบกับในอดีต จะด้วยเหตุผลใดก็ตามถือได้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้ก้าวหน้ามามากพอสมควร สำหรับบทความชิ้นมีเขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยเหตุผลที่ว่า ประการ *** เป็นการสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งส่วนนี้จะเป็นรากฐานที่ดี(อยู่บ้าง) ที่จะทำให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น(กว่าปัจจุบัน) ประการต่อมา ด้วยเหตุดีในประการ *** กอรป กับการเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นว่ามีเต็มพื้นที่ของประเทศแล้ว ด้วยหลักอรรถประโยชน์เราควรจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นแล้ว(การทำให้มันเกิดมีขึ้นน่าจะวางอยู่บนเหตุผลที่ว่า มันดีจึงให้มันเกิดขึ้นมา) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราควรจะทำให้มันเป็นผลดีขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ประโยชน์จากมันได้ดีที่สุด (ทดแทนสิ่งที่คิดว่ามันไม่ดี)
สำหรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเราสำหรับบทความนี้ก็คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้มันต้องพิสดารนัก จะกล่าวเข้าไปถึงหลักใหญ่ของบทความนี้เลย ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทความนี้ต้องการที่จะเสนอรูปแบบแนวคิดในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินเต็มรูปแบบ(คนละอย่างกับที่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ที่ปฏิรูประบบราชการไปแล้วซึ่ง ผู้เขียนมองว่า เป็นการปฏิรูปที่เน้นหนักไปที่ส่วนกลางหรือโครงสร้างส่วนบน)
ทราบกันดีว่าไทยเราแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ(แต่ต้องใช้พระราชบัญญัติมากกว่า หนึ่งฉบับในการจัดการ เช่นพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆภายใต้พระราชบัญญัติต่างๆที่อยู่ในกลุ่มของการปกครองส่วนท้องถิ่นมั้ง)เอาหละว่ากันต่อเลย
จะว่ากันในลักษณะที่เกี่ยวพันกับท้องถิ่นไปเลย ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนคิดจะเขียนขึ้นมาก็คือ ประเด็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ต้องลากยาวแก้กันทั้งเซ็ต แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ค่านิยมและวัฒนธรรมของข้าราชการไทย(รวมถึงคนไทยด้วย) นั่นคือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนอันนี้ก็จะขอยอมรับไว้ก่อนสำหรับบทความนี้ว่าอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของส่วนนี้มากนัก แต่จะไปเน้นหนักตรงที่รูปแบบโรงสร้างก่อน เอาหละนะ
อบจ.กับจังหวัดพื้นที่เดียวกันชัดเจน หน้าที่จะเหมือนกันบ้างต่างกันบางก็แล้วแต่โอกาส แต่ที่แน่ๆเมื่อมันเป็นพื้นที่เดียวกันมองอย่างแคบเลยว่ามันทับซ้อนกันอยู่ อย่างกว้างก็อาจจะอธิบาย
สำหรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเราสำหรับบทความนี้ก็คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้มันต้องพิสดารนัก จะกล่าวเข้าไปถึงหลักใหญ่ของบทความนี้เลย ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทความนี้ต้องการที่จะเสนอรูปแบบแนวคิดในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินเต็มรูปแบบ(คนละอย่างกับที่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ที่ปฏิรูประบบราชการไปแล้วซึ่ง ผู้เขียนมองว่า เป็นการปฏิรูปที่เน้นหนักไปที่ส่วนกลางหรือโครงสร้างส่วนบน)
ทราบกันดีว่าไทยเราแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ(แต่ต้องใช้พระราชบัญญัติมากกว่า หนึ่งฉบับในการจัดการ เช่นพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆภายใต้พระราชบัญญัติต่างๆที่อยู่ในกลุ่มของการปกครองส่วนท้องถิ่นมั้ง)เอาหละว่ากันต่อเลย
จะว่ากันในลักษณะที่เกี่ยวพันกับท้องถิ่นไปเลย ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนคิดจะเขียนขึ้นมาก็คือ ประเด็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ต้องลากยาวแก้กันทั้งเซ็ต แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ค่านิยมและวัฒนธรรมของข้าราชการไทย(รวมถึงคนไทยด้วย) นั่นคือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนอันนี้ก็จะขอยอมรับไว้ก่อนสำหรับบทความนี้ว่าอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของส่วนนี้มากนัก แต่จะไปเน้นหนักตรงที่รูปแบบโรงสร้างก่อน เอาหละนะ
อบจ.กับจังหวัดพื้นที่เดียวกันชัดเจน หน้าที่จะเหมือนกันบ้างต่างกันบางก็แล้วแต่โอกาส แต่ที่แน่ๆเมื่อมันเป็นพื้นที่เดียวกันมองอย่างแคบเลยว่ามันทับซ้อนกันอยู่ อย่างกว้างก็อาจจะอธิบาย
อธิปไตย (อธิปเตยยะ)
เรื่องของอธิปไตย เป็นเรื่องที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงของการเรียกร้องประชาธิปไตยในหมู่คนไทยด้วยกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีความเห็นที่แตกต่าง ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราก็ต้องมีสติในการรับฟังข่าวสาร และมีสติในการพิจารณาถึงการกระทำอันใดอันหนึ่งที่จะพึงมี อย่าให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
ในทางพระพุทธศาสนานั้นก็ได้สอนเรื่องของ "อธิปไตย" ไว้เหมือนกัน จึงได้นำมาให้ท่านทั้งหลายได้พินิจพิจารณา เพื่อที่จะได้เข้าใจในความหมายของคำว่า "อธิปไตย"
อธิปเตยยะ หรือ อธิปไตย ที่เราคุ้นเคยนั้น หมายถึง ความเป็นใหญ่ เป็นความต้องการมีอำนาจสูงสุดในการกระทำ มีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน คือ
ในทางพระพุทธศาสนานั้นก็ได้สอนเรื่องของ "อธิปไตย" ไว้เหมือนกัน จึงได้นำมาให้ท่านทั้งหลายได้พินิจพิจารณา เพื่อที่จะได้เข้าใจในความหมายของคำว่า "อธิปไตย"
อธิปเตยยะ หรือ อธิปไตย ที่เราคุ้นเคยนั้น หมายถึง ความเป็นใหญ่ เป็นความต้องการมีอำนาจสูงสุดในการกระทำ มีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน คือ
๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่ หมายถึง ความถือตนเป็นใหญ่ ยึดเอาความคิดเห็นของตนเป็นที่ตั้ง จะทำสิ่งใดก็นึกถึงแต่ประโยชน์ที่ตัวจะได้รับเป็นสำคัญ คำนึงถึงแต่เกียรติยศ ชื่อเสียง ความมีหน้ามีตาของตน เป็นเหตุให้เป็นคนเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้
๒. โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ หมายถึง การถือตามเสียงข้างมาก ตามกระแสนิยม หรือความต้องการของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ทำอะไรไปตามกระแส ตามใจคนส่วนมาก เป็นเหมือนดาบสองคม คือ ถ้าเสียงส่วนมากมาจากผู้มีศีลมีธรรมก็เป็นคุณ ตรงกันข้าม ถ้าเสียงส่วนมากเป็นคนทุศีล ก็ให้โทษ
๓. ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ หมายถึง การยึดถือหลักการความถูกต้องตามเหตุผล ความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่ถือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นสำคัญ ไม่มีอคติอันเป็นเหตุให้เกิดความไม่ยุติธรรม จะทำอะไรก็ยึดถือกฏหมาย กฏกติกา หลักธรรมเป็นหลัก ไม่ยึดตนหรือไหลไปตามกระแสนิยมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นที่ตั้ง
หมายเหตุ - อคติ หมายถึง ความลำเอียง เอนเอียงเข้าข้าง วางตัวไม่เป็นกลาง ไม่มีความยุติธรรม มีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ
๑. ฉันทาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างโดยถือเอาความรักใคร่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง
๒. โทสาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้าง โดยถือเอาความไม่ชอบใจไม่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง ทำให้เสียความยุติธรรมเพราะลุแก่อำนาจความเกลียดชัง
๓. โมหาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้างเพราะความหลง เป็นคนหูเบา เชื่อคนง่าย
๔. ภยาคติ หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้าง เพราะความกลัว หรือ เกรงใจ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น
อคติทั้ง ๔ ข้อนี้ ถ้าหากกระทำในข้อใดข้อหนึ่ง ก็เป็นเหตุให้เสียซึ่งความยุติธรรม ขาดภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี
อำนาจอธิปไตยเหนือวงโคจรสถิตตามกฎหมายระหว่างประเทศ
[]ปัญหาเกี่ยวกับความคับคั่งของวงโคจรสถิตย์[/]
ในการใช้เสรีภาพในอวกาศในทางปฏิบัติจะมีข้อจำกัดให้ไม่อาจกระทำได้ เพราะตำแหน่งในวงโคจรสำหรับให้วัตถุอวกาศปฏิบัติการมีจำนวนจำกัด บริเวณพื้นที่สำหรับตำแหน่งในวงโคจรที่จะให้วัตถุอวกาศเช่นดาวเทียมให้บริการอย่างคุ้มค่า มีแค่ 3 ย่านหลักๆ ได้แก่บริเวณเหนือทวีป อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียซึ่งเป็นบริเวณที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะลูกค้าที่ต้องการใช้บริการมีอำนาจในการซื้อบริการ ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็มีความต้องการแต่ไม่พร้อมด้านการเงิน อันทำให้เกิดปัญหาต่อการจัดส่งดาวเทียมไปไว้ในตำแหน่งในวงโคจรซึ่งมีแนวโน้มเรื่องความคับคั่งสูง
แต่โดยที่วงโคจรสถิตย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีปริมาณจำกัดมาก จึงทำให้นานาชาติต้องแย่งชิงกันส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรในวงโคจรนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคับคั่งจนต้องมีการจัดสรรตำแหน่งในวงโคจรนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรม โดยมีประเทศมหาอำนาจขอให้เพิ่มเงื่อนไขขึ้นมาว่า โดยให้ได้ประโยชน์สูงสุดซึ่งหมายความว่าหากรัฐใดมิได้ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ ที่ตนจองเอาไว้ถึงแม้จะจ่ายค่าจองเป็นประจำ รัฐอื่นก็มีสิทธิที่จะเข้าไปใช้ได้และโดยที่ไม่มีองค์กรระหว่างประเทศใดที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้ เมื่อสหภาพการโทรคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีหน้าที่จัดสรรย่านความถี่ของคลื่นสัญญาณให้ประเทศต่างๆ อยู่แล้ว และดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ ITU จึงทำหน้าที่เป็นผู้จดทะเบียนตำแหน่งใน วงโคจรสถิตย์ด้วยโดยปริยาย โดย ITU เป็นผู้จัดสรรย่านความถี่ให้โครงการดาวเทียม แต่ละดวงด้วย ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนการจัดสรรให้โครงการใดแล้ว โครงการนั้นย่อมมีสิทธิที่จะใช้ตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์นั้นๆ ก่อนผู้อื่น ถ้าโครงการดาวเทียมที่เกิดในภายหลังจะทำให้สัญญาณรบกวนกันโครงการที่เกิดขึ้นภายหลังจะต้องเจรจาหารือ (consult) กับโครงการที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อร่วมกันหาทาง ปรับระบบดาวเทียมของตนมิให้มีคลื่น สัญญาณรบกวนกัน
ทั้งนี้การได้รับการจัดสรรตำแหน่งในวงจรสถิตย์ (orbital slot) ไม่ทำให้รัฐที่ได้รับการจัดสรรมีกรรมสิทธิ์ในตำแหน่งในวงโคจรนั้น เพียงแต่ทำให้รัฐนั้นๆมีสิทธิใช้ตำแหน่งในวงโคจรนั้นก่อนรัฐอื่นๆ เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะขายตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามไว้โดยแจ้งชัดมิให้ขาย “สิทธิ”นั้นให้แก่รัฐอื่นบางประเทศเช่นประเทศ Tonga จึงขายสิทธิของตนให้แก่รัฐอื่นหรือให้ผู้ประกอบกิจการดาวเทียมของรัฐอื่นเช่าตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ของตนได้
Michael J. Finch กล่าวว่า “จากการคำนวณในทางทฤษฎีพบว่าระดับเทคโนโลยีปัจจุบันนี้สามารถให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรสถิตย์ได้ถึง 2,000 ดวง หรือให้ดาวเทียมอยู่ห่างกันอย่างน้อย 18 กิโลเมตร ดาวเทียมจะสามารถโคจรได้โดยไม่ปะทะกันเอง”
กองแผนงาน กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการณ์คับคั่งของพบว่า ที่ย่านความถี่ 6/4 GHz ในวงโคจรบริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้น ห้วงอวกาศแทบจะไม่มีเหลือว่างอยู่เลย ทั้งนี้ปรากฏตามภาพแสดงให้เป็นถึงปัญหาความคับคั่งของวงโคจรสถิตย์ในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะคับคั่งมากขึ้นไปอีกจนในที่สุดอาจไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอีกต่อไป
[]
ปัญหากฎหมายอวกาศในการเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือวงโคจรสถิตย์[/]
โดยทั่วไปแล้วประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมระหว่างประเทศ ยังขาดความพร้อมที่จะมีดาวเทียมเป็นของตนเอง เริ่มหวั่นเกรงว่าเมื่อถึงเวลาที่ประเทศของตนเองมีขีดความสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงท้องฟ้าได้นั้น วงโคจรดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมก็จะมีดาวเทียมแออัดจนกระทั่งไม่มีตำแหน่ง (Slot) ให้ดาวเทียมของตนอยู่ได้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจึงได้เรียกร้องให้มีการจัดสรรตำแหน่งของตนแลเรียกร้องให้ “จัดระเบียบการสื่อสารระหว่างประเทศใหม่” (New International Communications Order) ประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร 8 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล โคลัมเบีย คองโก เอคัวดอร์ อินโดนีเซีย เคนยา อูกันดา และแซร์ ได้ประกาศอ้างสิทธิว่าบริเวณวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐในเอกสารที่ชื่อว่า Bogota Declaratioon 1976 โดยอ้างเหตุผลว่าดาวเทียมจะโคจรอยู่ได้ต้องอาศัยแรงดึงดูดของโลก ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผล ที่จะอ้างว่าวงโคจรดาวเทียมนี้เป็นส่วนที่อยู่ในห้วงอวกาศ (Outer Space)
ห้วงอวกาศเป็นบริเวณที่อยู่เหนือพื้นโลก ซึ่งครอบคลุมทั้งห้วงอวกาศและดวงดาวต่างๆ สำหรับห้วงอวกาศมีลักษณะพิเศษในตัวเอง คือเป็นบริเวณที่มีสถานะระหว่างประเทศทำนองเดียวกับน่านน้ำสากล หรือทะเลหลวง (High Seas) ในกฎหมายทะเล ซึ่งไม่เป็นของรัฐใดและมิได้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดๆ มีปัญหาต้องพิจารณาว่าพื้นที่ที่เป็นห้วงอวกาศเริ่มต้นจากจุดใดบนท้องฟ้า พื้นที่วงโคจรสถิตย์เป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างตาม Bogota Declaratioon 1976 รับฟังได้หรือไม่
ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ นั้น ห้วงอวกาศทั้งหมดรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุทั้งหลายเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง
การแบ่งเขตระหว่างอวกาศกับน่านฟ้าหรือชั้นบรรยากาศว่า ชั้นบรรยากาศสิ้นสุด ณ จุดใดและอวกาศเริ่มต้น ณ จุดใด ซึ่งแต่ก่อนนี้จะดูจากความหนาแน่น (density) ของอากาศเป็นเกณฑ์ โดยดูจากว่าเพดานบินสูงสุดของอากาศยานที่บินโดยอาศัยการพยุงตัวของอากาศอยู่ ณ ที่ใดก็ให้ถือว่าชั้นบรรยากาศสิ้นสุดลง ณ ที่นั้น แต่ปัจจุบันการกำหนดเขตแดนห้วงอวกาศนั้นมีแนวคิดอยู่หลายแนวคิด แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ
ชูเกียรติ น้อยฉิม ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ (The Spatial Approach) ว่า “แนวคิดนี้พยายามที่จะสร้างหรือกำหนดเขตแดนที่ต่ำสุดของห้วงอวกาศ (The Boundary of Outer Space) ซึ่งกำหนดความสูงโดยเป็นที่ยอมรับของ COPOUS ซึ่งใช้แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศที่ใช้ทฤษฎีว่าด้วยจุดต่ำสุดของวงโคจรดาวเทียม มาเป็นตัวกำหนดโดยถือว่า ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นความสูงในจุดที่ต่ำสุดของดาวเทียมที่สามารถโคจรเพื่อใช้งานอยู่ได้ปกติและใกล้โลกมากที่สุดประมาณ 100 (± 10) กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเลเป็นห้วงอวกาศ และในห้วงอวกาศนั้นเทหวัตถุสามารถเคลื่อนที่รอบโลกได้โดยไม่อาศัยระบบขับเคลื่อนใดๆ ”
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขอบเขตของห้วงอวกาศอย่างชัดเจน ทำให้ กลุ่มประเทศบริเวณเส้นศูนย์สูตร กล่าวอ้างว่าวงโคจรสถิตย์นั้นขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดของโลก จากความสัมพันธ์กับโลกดังกล่าวนี้จึงทำให้มิได้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ ดังนั้นส่วนใดของวงโคจรอยู่เหนือรัฐศูนย์สูตรใดก็ควรอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐนั้น ข้อกล่าวอ้างนี้มีข้อพิจารณาว่ามีเหตุผลรับฟังได้หรือไม่
เมื่อเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วงโคจรสถิตย์มีจำกัดอยู่แค่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรเท่านั้นยิ่งทำให้วงโคจรสถิตย์มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุด และเป็นสิ่งที่หมายปองของทุกๆ รัฐ ดังนั้นบรรดารัฐศูนย์สูตรจึงเรียกร้องอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้ เมื่อเป็นที่รู้กันว่าวงโคจรสถิตย์มีจำกัดและต้องมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมการเรียกร้อง และอ้างสิทธิอธิปไตยจึงถูกคัดค้านอย่างหนัก และปฏิเสธโดยรัฐอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมหาอำนาจทางอวกาศ ซึ่งยืนยันว่าวงโคจรนี้เป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ เนื่องจากข้ออ้างของรัฐศูนย์สูตรมิได้ตรงกับความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าวงโคจรนี้มิได้ขึ้นอยู่เพียงกับแรงดึงดูดของโลกบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร แต่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดของโลกทั้งใบ และยังขึ้นอยู่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์กับดวงจันทร์ และดวงดาวอื่นๆ ในระบบ สุริยจักรวาล ยิ่งกว่านั้น วงโคจรเป็นเพียงทิศทางของการบินของวัตถุอวกาศรอบโลก ซึ่งจะมีตัวตนอยู่ก็เฉพาะสำหรับการสัญจรของวัตถุอวกาศเท่านั้น จึงไม่อาจอ้างอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้ได้ ที่สำคัญประเทศมหาอำนาจต่างถือปฏิบัติหลักการนี้ตลอดมาและไม่ปรากฏว่ามีการคัดค้านอย่างจริงจัง จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าประชาคมระหว่างประเทศต่างถือปฏิบัติกันมาจนเกิดมีความเชื่อมั่นว่าหลักการนี้เป็นกฎหมาย (Opinio Juris) หรือเชื่อมั่นว่ากฎหมายบังคับให้ต้องปฏิบัติเช่นนั้น (Opinio Juris Sive Necessitatis)
[]แนวทางการแก้ไขปัญหา[/]
จากปัญหา ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่า มีแนวทางแก้ไขดังนี้
โดยแท้จริงแล้วกล่าวได้ว่าปัญหาเกิดจากความมีจำกัดของทรัพยากร นั่นคือพื้นที่วงโคจรสถิตย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศ โดยที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างยอมรับกันว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง ประกอบกับการยอมรับ ในหลักการใช้เสรีภาพในห้วงอวกาศในทางสันติ ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ ในระยะแรกของการใช้พื้นที่ต่างถือหลักใครมาก่อนได้ก่อน (First-come, First-served) ภายใต้หลักการนี้ผู้ที่มาภายหลังก็จะไม่ได้สิทธิลำดับก่อนในการเข้าใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นหลักการที่มีลักษณะผูกขาด จึงมีความพยายามสร้างระบบควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ในห้วงอวกาศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง วงโคจรสถิตย์ขึ้นมาใหม่ ตามแนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม โดยจัดให้มีขั้นตอนของข้อมูลตีพิมพ์ล่วงหน้า เพื่อให้สิทธิแก่ประเทศทั้งหลายในการที่จะแสดงเจตนาให้เห็นถึงความต้องการในครั้งแรกที่จะเข้าใช้ประโยชน์ จากตำแหน่งที่ตั้งในวงโคจรสถิตย์ และยังมีขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญคือการประสานงานและการดำเนินการแจ้งจดทะเบียนไว้
องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ออกข้อมติประกาศว่า วงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด จึงควรใช้อย่างประหยัด และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันจากทุกประเทศทั่วโลก ต่อมามีการกล่าวถึงสิทธิแห่งความเท่าเทียมกัน (Equal Right) ของทุกประเทศในการที่จะเข้าใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่ตั้งของดาวเทียมในวงโคจรดาวเทียม ประเทศต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ไม่ควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษถาวรอื่นๆ ก่อนประเทศอื่นใดที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในภายหลัง รวมทั้งไม่ควรที่จะกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าใช้ประโยชน์ของประเทศอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ข้อว่ามตินี้จะได้รับการสนับสนุนจากจากประเทศสมาชิกทั้งหลายก็ตาม แต่ก็ไม่มีอำนาจบังคับทางกฎหมายที่จะทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้น ปัญหาจึงย้อนกลับมาสู่หลักปรัชญาทางกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นต้นสายธารของหลักกฎหมายอวกาศ นั่นคือ การยอมรับนับถือที่จะผูกพันตนในความตกลงระหว่างประเทศ เพราะหากประชาคมระหว่างประเทศให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังในการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน และแบ่งปันในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่วงโคจรสถิตย์โดยตั้งอยู่บนหลักการแห่งความเท่าเทียมกัน และมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมโดยอาศัยองค์การระหว่างเทศ นั่นคือ องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน และเนื่องจากองค์ความรู้ด้านกฎหมายอวกาศยังมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เพราะปัจจัยด้านเทคโนโลยี ของมนุษยชาติมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดความจำเป็น ต้องพัฒนาระบบกฎหมายอวกาศให้สามารถใช้บังคับต่อสังคมโลก ได้อย่างเป็นมีประสิทธิภาพ และธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมต่อไป
ในการใช้เสรีภาพในอวกาศในทางปฏิบัติจะมีข้อจำกัดให้ไม่อาจกระทำได้ เพราะตำแหน่งในวงโคจรสำหรับให้วัตถุอวกาศปฏิบัติการมีจำนวนจำกัด บริเวณพื้นที่สำหรับตำแหน่งในวงโคจรที่จะให้วัตถุอวกาศเช่นดาวเทียมให้บริการอย่างคุ้มค่า มีแค่ 3 ย่านหลักๆ ได้แก่บริเวณเหนือทวีป อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียซึ่งเป็นบริเวณที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะลูกค้าที่ต้องการใช้บริการมีอำนาจในการซื้อบริการ ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็มีความต้องการแต่ไม่พร้อมด้านการเงิน อันทำให้เกิดปัญหาต่อการจัดส่งดาวเทียมไปไว้ในตำแหน่งในวงโคจรซึ่งมีแนวโน้มเรื่องความคับคั่งสูง
แต่โดยที่วงโคจรสถิตย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีปริมาณจำกัดมาก จึงทำให้นานาชาติต้องแย่งชิงกันส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรในวงโคจรนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคับคั่งจนต้องมีการจัดสรรตำแหน่งในวงโคจรนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรม โดยมีประเทศมหาอำนาจขอให้เพิ่มเงื่อนไขขึ้นมาว่า โดยให้ได้ประโยชน์สูงสุดซึ่งหมายความว่าหากรัฐใดมิได้ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ ที่ตนจองเอาไว้ถึงแม้จะจ่ายค่าจองเป็นประจำ รัฐอื่นก็มีสิทธิที่จะเข้าไปใช้ได้และโดยที่ไม่มีองค์กรระหว่างประเทศใดที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้ เมื่อสหภาพการโทรคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีหน้าที่จัดสรรย่านความถี่ของคลื่นสัญญาณให้ประเทศต่างๆ อยู่แล้ว และดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ ITU จึงทำหน้าที่เป็นผู้จดทะเบียนตำแหน่งใน วงโคจรสถิตย์ด้วยโดยปริยาย โดย ITU เป็นผู้จัดสรรย่านความถี่ให้โครงการดาวเทียม แต่ละดวงด้วย ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนการจัดสรรให้โครงการใดแล้ว โครงการนั้นย่อมมีสิทธิที่จะใช้ตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์นั้นๆ ก่อนผู้อื่น ถ้าโครงการดาวเทียมที่เกิดในภายหลังจะทำให้สัญญาณรบกวนกันโครงการที่เกิดขึ้นภายหลังจะต้องเจรจาหารือ (consult) กับโครงการที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อร่วมกันหาทาง ปรับระบบดาวเทียมของตนมิให้มีคลื่น สัญญาณรบกวนกัน
ทั้งนี้การได้รับการจัดสรรตำแหน่งในวงจรสถิตย์ (orbital slot) ไม่ทำให้รัฐที่ได้รับการจัดสรรมีกรรมสิทธิ์ในตำแหน่งในวงโคจรนั้น เพียงแต่ทำให้รัฐนั้นๆมีสิทธิใช้ตำแหน่งในวงโคจรนั้นก่อนรัฐอื่นๆ เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะขายตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามไว้โดยแจ้งชัดมิให้ขาย “สิทธิ”นั้นให้แก่รัฐอื่นบางประเทศเช่นประเทศ Tonga จึงขายสิทธิของตนให้แก่รัฐอื่นหรือให้ผู้ประกอบกิจการดาวเทียมของรัฐอื่นเช่าตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ของตนได้
Michael J. Finch กล่าวว่า “จากการคำนวณในทางทฤษฎีพบว่าระดับเทคโนโลยีปัจจุบันนี้สามารถให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรสถิตย์ได้ถึง 2,000 ดวง หรือให้ดาวเทียมอยู่ห่างกันอย่างน้อย 18 กิโลเมตร ดาวเทียมจะสามารถโคจรได้โดยไม่ปะทะกันเอง”
กองแผนงาน กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการณ์คับคั่งของพบว่า ที่ย่านความถี่ 6/4 GHz ในวงโคจรบริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้น ห้วงอวกาศแทบจะไม่มีเหลือว่างอยู่เลย ทั้งนี้ปรากฏตามภาพแสดงให้เป็นถึงปัญหาความคับคั่งของวงโคจรสถิตย์ในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะคับคั่งมากขึ้นไปอีกจนในที่สุดอาจไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอีกต่อไป
[]
ปัญหากฎหมายอวกาศในการเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือวงโคจรสถิตย์[/]
โดยทั่วไปแล้วประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมระหว่างประเทศ ยังขาดความพร้อมที่จะมีดาวเทียมเป็นของตนเอง เริ่มหวั่นเกรงว่าเมื่อถึงเวลาที่ประเทศของตนเองมีขีดความสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงท้องฟ้าได้นั้น วงโคจรดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมก็จะมีดาวเทียมแออัดจนกระทั่งไม่มีตำแหน่ง (Slot) ให้ดาวเทียมของตนอยู่ได้ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจึงได้เรียกร้องให้มีการจัดสรรตำแหน่งของตนแลเรียกร้องให้ “จัดระเบียบการสื่อสารระหว่างประเทศใหม่” (New International Communications Order) ประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร 8 ประเทศ ประกอบด้วย บราซิล โคลัมเบีย คองโก เอคัวดอร์ อินโดนีเซีย เคนยา อูกันดา และแซร์ ได้ประกาศอ้างสิทธิว่าบริเวณวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐในเอกสารที่ชื่อว่า Bogota Declaratioon 1976 โดยอ้างเหตุผลว่าดาวเทียมจะโคจรอยู่ได้ต้องอาศัยแรงดึงดูดของโลก ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผล ที่จะอ้างว่าวงโคจรดาวเทียมนี้เป็นส่วนที่อยู่ในห้วงอวกาศ (Outer Space)
ห้วงอวกาศเป็นบริเวณที่อยู่เหนือพื้นโลก ซึ่งครอบคลุมทั้งห้วงอวกาศและดวงดาวต่างๆ สำหรับห้วงอวกาศมีลักษณะพิเศษในตัวเอง คือเป็นบริเวณที่มีสถานะระหว่างประเทศทำนองเดียวกับน่านน้ำสากล หรือทะเลหลวง (High Seas) ในกฎหมายทะเล ซึ่งไม่เป็นของรัฐใดและมิได้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดๆ มีปัญหาต้องพิจารณาว่าพื้นที่ที่เป็นห้วงอวกาศเริ่มต้นจากจุดใดบนท้องฟ้า พื้นที่วงโคจรสถิตย์เป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างตาม Bogota Declaratioon 1976 รับฟังได้หรือไม่
ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ นั้น ห้วงอวกาศทั้งหมดรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุทั้งหลายเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง
การแบ่งเขตระหว่างอวกาศกับน่านฟ้าหรือชั้นบรรยากาศว่า ชั้นบรรยากาศสิ้นสุด ณ จุดใดและอวกาศเริ่มต้น ณ จุดใด ซึ่งแต่ก่อนนี้จะดูจากความหนาแน่น (density) ของอากาศเป็นเกณฑ์ โดยดูจากว่าเพดานบินสูงสุดของอากาศยานที่บินโดยอาศัยการพยุงตัวของอากาศอยู่ ณ ที่ใดก็ให้ถือว่าชั้นบรรยากาศสิ้นสุดลง ณ ที่นั้น แต่ปัจจุบันการกำหนดเขตแดนห้วงอวกาศนั้นมีแนวคิดอยู่หลายแนวคิด แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ
ชูเกียรติ น้อยฉิม ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ (The Spatial Approach) ว่า “แนวคิดนี้พยายามที่จะสร้างหรือกำหนดเขตแดนที่ต่ำสุดของห้วงอวกาศ (The Boundary of Outer Space) ซึ่งกำหนดความสูงโดยเป็นที่ยอมรับของ COPOUS ซึ่งใช้แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศที่ใช้ทฤษฎีว่าด้วยจุดต่ำสุดของวงโคจรดาวเทียม มาเป็นตัวกำหนดโดยถือว่า ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นความสูงในจุดที่ต่ำสุดของดาวเทียมที่สามารถโคจรเพื่อใช้งานอยู่ได้ปกติและใกล้โลกมากที่สุดประมาณ 100 (± 10) กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเลเป็นห้วงอวกาศ และในห้วงอวกาศนั้นเทหวัตถุสามารถเคลื่อนที่รอบโลกได้โดยไม่อาศัยระบบขับเคลื่อนใดๆ ”
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขอบเขตของห้วงอวกาศอย่างชัดเจน ทำให้ กลุ่มประเทศบริเวณเส้นศูนย์สูตร กล่าวอ้างว่าวงโคจรสถิตย์นั้นขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดของโลก จากความสัมพันธ์กับโลกดังกล่าวนี้จึงทำให้มิได้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ ดังนั้นส่วนใดของวงโคจรอยู่เหนือรัฐศูนย์สูตรใดก็ควรอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐนั้น ข้อกล่าวอ้างนี้มีข้อพิจารณาว่ามีเหตุผลรับฟังได้หรือไม่
เมื่อเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วงโคจรสถิตย์มีจำกัดอยู่แค่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรเท่านั้นยิ่งทำให้วงโคจรสถิตย์มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุด และเป็นสิ่งที่หมายปองของทุกๆ รัฐ ดังนั้นบรรดารัฐศูนย์สูตรจึงเรียกร้องอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้ เมื่อเป็นที่รู้กันว่าวงโคจรสถิตย์มีจำกัดและต้องมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมการเรียกร้อง และอ้างสิทธิอธิปไตยจึงถูกคัดค้านอย่างหนัก และปฏิเสธโดยรัฐอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมหาอำนาจทางอวกาศ ซึ่งยืนยันว่าวงโคจรนี้เป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ เนื่องจากข้ออ้างของรัฐศูนย์สูตรมิได้ตรงกับความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าวงโคจรนี้มิได้ขึ้นอยู่เพียงกับแรงดึงดูดของโลกบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร แต่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดของโลกทั้งใบ และยังขึ้นอยู่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์กับดวงจันทร์ และดวงดาวอื่นๆ ในระบบ สุริยจักรวาล ยิ่งกว่านั้น วงโคจรเป็นเพียงทิศทางของการบินของวัตถุอวกาศรอบโลก ซึ่งจะมีตัวตนอยู่ก็เฉพาะสำหรับการสัญจรของวัตถุอวกาศเท่านั้น จึงไม่อาจอ้างอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้ได้ ที่สำคัญประเทศมหาอำนาจต่างถือปฏิบัติหลักการนี้ตลอดมาและไม่ปรากฏว่ามีการคัดค้านอย่างจริงจัง จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าประชาคมระหว่างประเทศต่างถือปฏิบัติกันมาจนเกิดมีความเชื่อมั่นว่าหลักการนี้เป็นกฎหมาย (Opinio Juris) หรือเชื่อมั่นว่ากฎหมายบังคับให้ต้องปฏิบัติเช่นนั้น (Opinio Juris Sive Necessitatis)
[]แนวทางการแก้ไขปัญหา[/]
จากปัญหา ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่า มีแนวทางแก้ไขดังนี้
โดยแท้จริงแล้วกล่าวได้ว่าปัญหาเกิดจากความมีจำกัดของทรัพยากร นั่นคือพื้นที่วงโคจรสถิตย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศ โดยที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างยอมรับกันว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง ประกอบกับการยอมรับ ในหลักการใช้เสรีภาพในห้วงอวกาศในทางสันติ ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ ในระยะแรกของการใช้พื้นที่ต่างถือหลักใครมาก่อนได้ก่อน (First-come, First-served) ภายใต้หลักการนี้ผู้ที่มาภายหลังก็จะไม่ได้สิทธิลำดับก่อนในการเข้าใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นหลักการที่มีลักษณะผูกขาด จึงมีความพยายามสร้างระบบควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ในห้วงอวกาศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง วงโคจรสถิตย์ขึ้นมาใหม่ ตามแนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม โดยจัดให้มีขั้นตอนของข้อมูลตีพิมพ์ล่วงหน้า เพื่อให้สิทธิแก่ประเทศทั้งหลายในการที่จะแสดงเจตนาให้เห็นถึงความต้องการในครั้งแรกที่จะเข้าใช้ประโยชน์ จากตำแหน่งที่ตั้งในวงโคจรสถิตย์ และยังมีขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญคือการประสานงานและการดำเนินการแจ้งจดทะเบียนไว้
องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ออกข้อมติประกาศว่า วงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด จึงควรใช้อย่างประหยัด และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันจากทุกประเทศทั่วโลก ต่อมามีการกล่าวถึงสิทธิแห่งความเท่าเทียมกัน (Equal Right) ของทุกประเทศในการที่จะเข้าใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่ตั้งของดาวเทียมในวงโคจรดาวเทียม ประเทศต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ไม่ควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษถาวรอื่นๆ ก่อนประเทศอื่นใดที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในภายหลัง รวมทั้งไม่ควรที่จะกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าใช้ประโยชน์ของประเทศอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ข้อว่ามตินี้จะได้รับการสนับสนุนจากจากประเทศสมาชิกทั้งหลายก็ตาม แต่ก็ไม่มีอำนาจบังคับทางกฎหมายที่จะทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้น ปัญหาจึงย้อนกลับมาสู่หลักปรัชญาทางกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นต้นสายธารของหลักกฎหมายอวกาศ นั่นคือ การยอมรับนับถือที่จะผูกพันตนในความตกลงระหว่างประเทศ เพราะหากประชาคมระหว่างประเทศให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังในการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน และแบ่งปันในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่วงโคจรสถิตย์โดยตั้งอยู่บนหลักการแห่งความเท่าเทียมกัน และมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมโดยอาศัยองค์การระหว่างเทศ นั่นคือ องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน และเนื่องจากองค์ความรู้ด้านกฎหมายอวกาศยังมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เพราะปัจจัยด้านเทคโนโลยี ของมนุษยชาติมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดความจำเป็น ต้องพัฒนาระบบกฎหมายอวกาศให้สามารถใช้บังคับต่อสังคมโลก ได้อย่างเป็นมีประสิทธิภาพ และธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)