ความทรงจำ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ธรรมมะที่สำคัญที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ ของพระเจ้าแผ่นดิน
1. ทาน       การให้
2. สีล        ความประพฤติ
3. ปริจจาค  การบริจาค
4. อาซซว   ความเที่ยงตรง
5. มททว    ความละมุนละไม
6. ตป    การขจัดเผาผลาญความชั่ว
7. อกโกธ   ความไม่โกรธ
8. อหิงสา ความไม่เบียดเบียนกัน
9. ขนติ ความอดทน
10. อวิโรธน ความไม่ประพฤติผิดธรรม

ธรรมะ 4 ประการ ได้แก่
1. พิจารณาความชอบหรือความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์
2. รักษาพระนครและขอบฑสีมา ให้สุขเกษมโดยยุติธรรม
3. ทะนุบำรุงบุคคลผู้มีศีลธรรม
4. เพิ่มพูนพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม
พระราชจรรยานุวัตร 12 ประการ คือ พระราชจรรยานุวัตรอันเป็นที่ตั้งแห่งกายยึดเหนี่ยวน้ำใจประชาชน ได้แก่
1. ควรพระราชทานโอวทและอนุเคราะห์ข้าราชการอาณาประชาราษฎรทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
2. ความทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
3. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยยศ
4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดีและคหบดีชน
5. ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนโดยสมควรแก่ฐานานุรูป
6. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ
7. ควรทรงอนุรักษ์ฝูงเนื้อและนกโดยไม่ให้ผู้ใดเบียดเบียนทำอันตรายจนสูญพันธุ์
8. ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ประกอบกิจที่ไม่ชอบด้วยความธรรม ชักนำให้ตั้งอยู่ในกุศลจิต ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9. ควรพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ขัดสนตามสมควร
10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญบาปกุศลให้ประจักษ์ชัด
11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอคนียสถาน
12. ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตประรถนาลาภที่ไม่ควรได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น