ความทรงจำ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ชาวบ้าน คือ ประวัติศาสตร์ของชุมชน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจากระดับบนสู่ระดับล่าง ทำให้เกิดการทำลายกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้คนในท้องถิ่นไม่รู้จักตัวเอง”

          อดีตปัจจุบัน และอนาคต เป็นมิติเวลาที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ  ดังเช่น ความเป็นมาของผู้คนในชุมชนที่อาจมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ก็ได้  แต่เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เดียวกันหลายชั่วคน ก็จะเกิดสำนึกร่วมขึ้นเป็นคนในท้องถิ่นเดียวกัน  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่จากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นหัวใจของการทำงานที่สำคัญของ รศ. ศรีศักร  วัลลิโภดม ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา  ที่เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนความเป็นตัวตนและพัฒนาการของคนในพื้นที่จากอดีตสู่ปัจจุบัน

          เรื่องนี้เป็นที่โต้แย้งกันมานานแล้ว เพราะเมื่อก่อนเราศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับประเทศโดยไม่ได้มองคนระดับท้องถิ่น กระแสของการศึกษาประวัติศาสตร์ระดับท้องถิ่นเองก็มีหลากหลายกลุ่มหลากหลายแนวคิด ผมเองก็เป็นหนึ่งทางด้านการเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น  หนึ่งในกลุ่มเดียวกับผมที่ศึกษาด้านนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันก็คือ รศ.ดร.ธิดา  สาระยา

วิธีการทำงาน การค้นคว้าหาข้อมูลและหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นอย่างไรคะ


          ที่จริงแล้วผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์   ผมเป็นนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านชาติพันธุ์ (ethnography)  งานการศึกษาของนักมานุษยวิทยาต่างกับนักโบราณคดีอย่างหนึ่งคือนักโบราณคดีเน้นการศึกษาอดีตที่ไกลมากในยุคประวัติศาสตร์  แต่นักมานุษยวิทยาเน้นการศึกษาด้านสังคมปัจจุบันโดยใช้คนเป็นตัวตั้ง และถ้าจะศึกษาสังคมปัจจุบันต้องย้อนกลับไปศึกษาถึงสังคมของคนที่อยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์สังคมไม่ใช่ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม

          ฉะนั้นวิธีการศึกษาของผมในฐานะเป็นนักมานุษยวิทยา ผมจึงมองแบบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าเป็นเรื่องคนในท้องถิ่นนั้นที่สัมพันธ์ กับพื้นที่ เน้นการศึกษาที่ต่อเนื่อง  ซึ่งความเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผมต้องศึกษาย้อนหลังขึ้นไปถึงบรรพบุรุษ ของพ่อแม่ปู่ย่าตายายจนถึงในระดับที่นับเรียงลำดับไม่ได้แล้วว่าคนในท้อง ถิ่นนี้เขาอยู่กันมากี่ชั่วคน การศึกษาแบบนี้ทำให้เข้าถึงคน เข้าใจคน แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงจะมองไม่เห็นใน ระดับนี้ จะเห็นแต่สมัยที่หมดไปแล้วคือ เป็นสมัยอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง...อะไรทำนองนั้น

          ประวัติศาสตร์ที่นักมานุษยวิทยาอย่างพวกผมศึกษาอยู่เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ตาย เพราะคนในท้องถิ่นจะมีความสัมพันธ์ที่สืบเนื่องต่อ ๆ กันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน  ทำให้เข้าใจปัจจุบันได้  นี่คือหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในความคิดของผม

          ส่วนวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูลของเราก็คือ คุณต้องลงพื้นที่ เพราะงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบนี้ไม่ใช่งานเอกสาร เพราะชีวิตของคนในท้องถิ่นบางอย่างไม่ได้มีการเขียนบันทึกไว้ มีแต่อยู่ในความทรงจำของคนในท้องถิ่นที่เราจะได้ข้อมูลเหล่านี้จากการเข้าไปสัมภาษณ์ เข้าไปสังเกตการณ์ เข้าไปสัมผัสกับพื้นที่จริง
ประสบการณ์ลองผิดลองถูกกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

          ในระยะแรก การศึกษาแบบนี้ก็มีจุดอ่อนเหมือนกันเพราะว่าเราเข้าไปในฐานะที่เป็นคนนอกทำให้เห็นความเป็นไปในท้องถิ่นได้ไม่มากเท่ากับคนในพื้นที่ ถึงแม้จะเข้าไปสัมผัสเป็นเวลานานแค่ไหนก็ตาม  ดังนั้นแนวการทำงานจึงเปลี่ยนบทบาทจากเดิมเราจะนำอาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ ไปเก็บข้อมูล แล้วรวบรวมเรียบเรียงเขียนขึ้นโดยตีความจากความเข้าใจของเราเอง ซึ่งการศึกษาแบบนี้ก็ได้ผลในระดับหนึ่งที่ยังเป็นภาพนิ่งเท่านั้น  แต่ถ้าต้องการให้การศึกษายกระดับขึ้นกว่านี้ เราก็เปลี่ยนมาให้ชาวบ้าน ให้คนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรม เจ้าของประวัติศาสตร์มาศึกษาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของตัวเอง จึงจะแลเห็นภาพเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลง โดยเราทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งทำให้เกิดความครบถ้วนในเนื้อหา เป็นฐานความรู้ที่รวมสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้สามารถมองว่าในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน

          ด้วยวิธีการศึกษาแบบนี้จะทำให้คนในท้องถิ่นรับรู้ว่าต่อไปในอนาคต เขาจะต้องพัฒนาตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นได้อย่างไร  ซึ่งเป็นการนำหลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่า “เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา” มาประยุกต์ใช้นั่นเอง
ความยากในแต่ละพื้นที่

          การศึกษาประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการและขั้นตอนการทำงาน เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน  ความคิดของแต่ละกลุ่มคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนเข้าใจได้เร็ว บางคนเข้าใจช้า  เราต้องทำหน้าที่วิเคราะห์ ตีความ แยกหมวดหมู่ข้อมูลแต่ละประเภทประวัติศาสตร์ที่ได้จากชุมชนไม่มีการบิดเบือนไปจากเดิมบ้างหรือคะ

          ไม่มีใครพูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นในอดีตได้ 100%  แต่ว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด   ถ้าใกล้ความเป็นจริงแล้วคนในท้องถิ่นเข้าใจ  จะดีกว่าที่คนนอกเป็นผู้เขียน เพราะเขียนยังไง ตีความแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แล้วคนนอกก็ใช้สื่อกันเอง  แบบนี้จะใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้เลยการสร้างเครือข่ายการทำงานวิจัยด้านนี้

          ใช้วิธีฝึกกลุ่มคนที่จะเข้าไปศึกษาในพื้นที่ ในลักษณะที่เป็นพี่เลี้ยงไม่ใช่เป็นพระเอก
          โดยแต่ละคนต้องมีแนวคิด มีทฤษฎี มีกรอบวิธีการคิดที่ช่วยให้มองอะไรได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล  คือศึกษาวิธีการต่าง ๆ ให้รู้พอสมควรอย่างยืดหยุ่น  และเมื่อลงพื้นที่แล้วต้องรู้จักปรับเปลี่ยน จัดการไปตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น