ความทรงจำ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการปกครองของรัฐ

     เทวาธิปไตย (อังกฤษ: Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้างๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือแรงบันดาลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยเน (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่กลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของสถาบันศาสนาที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลฆราวาส รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy)

             ระบบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่นๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยอำนาจของพระเจ้า” (By the Grace of God)
             เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่างๆ ของรัฐบาลที่ปกครองฆราวัสจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างฆราวัสจักรและศาสนจักร

             การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ศาสนายูดาย, ศาสนาอิสลาม, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาฮินดู, พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก, อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์, โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน

             ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 1453 และของจักรวรรดิคาโรลิเกียนระหว่าง ค.ศ. 800 ถึง ค.ศ. 888 หรือในปัจจุบันในการปกครองของอาณาจักรพระสันตะปาปา

ศักดินาไทย

ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงพื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ธรรมมะที่สำคัญที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ 10 ประการ ของพระเจ้าแผ่นดิน
1. ทาน       การให้
2. สีล        ความประพฤติ
3. ปริจจาค  การบริจาค
4. อาซซว   ความเที่ยงตรง
5. มททว    ความละมุนละไม
6. ตป    การขจัดเผาผลาญความชั่ว
7. อกโกธ   ความไม่โกรธ
8. อหิงสา ความไม่เบียดเบียนกัน
9. ขนติ ความอดทน
10. อวิโรธน ความไม่ประพฤติผิดธรรม

ธรรมะ 4 ประการ ได้แก่
1. พิจารณาความชอบหรือความผิดแห่งผู้กระทำให้เป็นประโยชน์และมิได้เป็นประโยชน์แก่พระองค์
2. รักษาพระนครและขอบฑสีมา ให้สุขเกษมโดยยุติธรรม
3. ทะนุบำรุงบุคคลผู้มีศีลธรรม
4. เพิ่มพูนพระราชทรัพย์โดยยุติธรรม
พระราชจรรยานุวัตร 12 ประการ คือ พระราชจรรยานุวัตรอันเป็นที่ตั้งแห่งกายยึดเหนี่ยวน้ำใจประชาชน ได้แก่
1. ควรพระราชทานโอวทและอนุเคราะห์ข้าราชการอาณาประชาราษฎรทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร
2. ความทรงผูกพระราชไมตรีกับนานาประเทศ
3. ควรทรงสงเคราะห์พระราชวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยยศ
4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดีและคหบดีชน
5. ควรทรงอนุเคราะห์ประชาชนโดยสมควรแก่ฐานานุรูป
6. ควรทรงอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีลประพฤติชอบ
7. ควรทรงอนุรักษ์ฝูงเนื้อและนกโดยไม่ให้ผู้ใดเบียดเบียนทำอันตรายจนสูญพันธุ์
8. ควรทรงห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ประกอบกิจที่ไม่ชอบด้วยความธรรม ชักนำให้ตั้งอยู่ในกุศลจิต ประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม
9. ควรพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ขัดสนตามสมควร
10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญบาปกุศลให้ประจักษ์ชัด
11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอคนียสถาน
12. ควรทรงประหารวิสมโลภเจตนา ห้ามจิตประรถนาลาภที่ไม่ควรได้

การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
     อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

      แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

      1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น   เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

             1. รูปแบบราชาธิปไตย  หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
             2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
             3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
            4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

      2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย   การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์

การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

เมื่อพิจารณากันในบริบทปัจจุบันเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยก็ถือได้ว่าได้จัดการให้มีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อเทียบกับในอดีต จะด้วยเหตุผลใดก็ตามถือได้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้ก้าวหน้ามามากพอสมควร สำหรับบทความชิ้นมีเขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยเหตุผลที่ว่า ประการ *** เป็นการสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งส่วนนี้จะเป็นรากฐานที่ดี(อยู่บ้าง) ที่จะทำให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น(กว่าปัจจุบัน) ประการต่อมา ด้วยเหตุดีในประการ *** กอรป กับการเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นว่ามีเต็มพื้นที่ของประเทศแล้ว ด้วยหลักอรรถประโยชน์เราควรจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นแล้ว(การทำให้มันเกิดมีขึ้นน่าจะวางอยู่บนเหตุผลที่ว่า มันดีจึงให้มันเกิดขึ้นมา) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราควรจะทำให้มันเป็นผลดีขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ประโยชน์จากมันได้ดีที่สุด (ทดแทนสิ่งที่คิดว่ามันไม่ดี)
สำหรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเราสำหรับบทความนี้ก็คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้มันต้องพิสดารนัก จะกล่าวเข้าไปถึงหลักใหญ่ของบทความนี้เลย ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทความนี้ต้องการที่จะเสนอรูปแบบแนวคิดในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินเต็มรูปแบบ(คนละอย่างกับที่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ที่ปฏิรูประบบราชการไปแล้วซึ่ง ผู้เขียนมองว่า เป็นการปฏิรูปที่เน้นหนักไปที่ส่วนกลางหรือโครงสร้างส่วนบน)
ทราบกันดีว่าไทยเราแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ(แต่ต้องใช้พระราชบัญญัติมากกว่า หนึ่งฉบับในการจัดการ เช่นพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆภายใต้พระราชบัญญัติต่างๆที่อยู่ในกลุ่มของการปกครองส่วนท้องถิ่นมั้ง)เอาหละว่ากันต่อเลย
จะว่ากันในลักษณะที่เกี่ยวพันกับท้องถิ่นไปเลย ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนคิดจะเขียนขึ้นมาก็คือ ประเด็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ต้องลากยาวแก้กันทั้งเซ็ต แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ค่านิยมและวัฒนธรรมของข้าราชการไทย(รวมถึงคนไทยด้วย) นั่นคือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนอันนี้ก็จะขอยอมรับไว้ก่อนสำหรับบทความนี้ว่าอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของส่วนนี้มากนัก แต่จะไปเน้นหนักตรงที่รูปแบบโรงสร้างก่อน เอาหละนะ
อบจ.กับจังหวัดพื้นที่เดียวกันชัดเจน หน้าที่จะเหมือนกันบ้างต่างกันบางก็แล้วแต่โอกาส แต่ที่แน่ๆเมื่อมันเป็นพื้นที่เดียวกันมองอย่างแคบเลยว่ามันทับซ้อนกันอยู่ อย่างกว้างก็อาจจะอธิบาย

อธิปไตย (อธิปเตยยะ)

เรื่องของอธิปไตย  เป็นเรื่องที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ เป็นช่วงของการเรียกร้องประชาธิปไตยในหมู่คนไทยด้วยกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีความเห็นที่แตกต่าง ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  เราก็ต้องมีสติในการรับฟังข่าวสาร และมีสติในการพิจารณาถึงการกระทำอันใดอันหนึ่งที่จะพึงมี อย่าให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น 
          ในทางพระพุทธศาสนานั้นก็ได้สอนเรื่องของ "อธิปไตย" ไว้เหมือนกัน จึงได้นำมาให้ท่านทั้งหลายได้พินิจพิจารณา เพื่อที่จะได้เข้าใจในความหมายของคำว่า "อธิปไตย
          อธิปเตยยะ หรือ อธิปไตย ที่เราคุ้นเคยนั้น หมายถึง  ความเป็นใหญ่ เป็นความต้องการมีอำนาจสูงสุดในการกระทำ  มีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน คือ
          ๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่  หมายถึง ความถือตนเป็นใหญ่ ยึดเอาความคิดเห็นของตนเป็นที่ตั้ง  จะทำสิ่งใดก็นึกถึงแต่ประโยชน์ที่ตัวจะได้รับเป็นสำคัญ  คำนึงถึงแต่เกียรติยศ ชื่อเสียง ความมีหน้ามีตาของตน  เป็นเหตุให้เป็นคนเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้
          ๒. โลกาธิปเตยยะ  ความมีโลกเป็นใหญ่  หมายถึง การถือตามเสียงข้างมาก  ตามกระแสนิยม  หรือความต้องการของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ  ทำอะไรไปตามกระแส ตามใจคนส่วนมาก เป็นเหมือนดาบสองคม คือ ถ้าเสียงส่วนมากมาจากผู้มีศีลมีธรรมก็เป็นคุณ  ตรงกันข้าม ถ้าเสียงส่วนมากเป็นคนทุศีล ก็ให้โทษ
          ๓. ธัมมาธิปเตยยะ  ความมีธรรมเป็นใหญ่  หมายถึง การยึดถือหลักการความถูกต้องตามเหตุผล  ความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่ถือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นสำคัญ  ไม่มีอคติอันเป็นเหตุให้เกิดความไม่ยุติธรรม  จะทำอะไรก็ยึดถือกฏหมาย  กฏกติกา หลักธรรมเป็นหลัก ไม่ยึดตนหรือไหลไปตามกระแสนิยมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นที่ตั้ง
         
หมายเหตุ  -  อคติ  หมายถึง  ความลำเอียง  เอนเอียงเข้าข้าง  วางตัวไม่เป็นกลาง ไม่มีความยุติธรรม  มีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ
          ๑. ฉันทาคติ  หมายถึง  ความลำเอียงเข้าข้างโดยถือเอาความรักใคร่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง
          ๒. โทสาคติ  หมายถึง ความลำเอียงเข้าข้าง โดยถือเอาความไม่ชอบใจไม่พอใจของตนเป็นที่ตั้ง ทำให้เสียความยุติธรรมเพราะลุแก่อำนาจความเกลียดชัง
          ๓. โมหาคติ  หมายถึง  ความลำเอียงเข้าข้างเพราะความหลง เป็นคนหูเบา เชื่อคนง่าย
          ๔. ภยาคติ  หมายถึง  ความลำเอียงเข้าข้าง เพราะความกลัว หรือ เกรงใจ  ไม่เป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น
          อคติทั้ง ๔ ข้อนี้ ถ้าหากกระทำในข้อใดข้อหนึ่ง ก็เป็นเหตุให้เสียซึ่งความยุติธรรม  ขาดภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี

อำนาจอธิปไตยเหนือวงโคจรสถิตตามกฎหมายระหว่างประเทศ

[]ปัญหาเกี่ยวกับความคับคั่งของวงโคจรสถิตย์[/]

          ในการใช้เสรีภาพในอวกาศในทางปฏิบัติจะมีข้อจำกัดให้ไม่อาจกระทำได้ เพราะตำแหน่งในวงโคจรสำหรับให้วัตถุอวกาศปฏิบัติการมีจำนวนจำกัด บริเวณพื้นที่สำหรับตำแหน่งในวงโคจรที่จะให้วัตถุอวกาศเช่นดาวเทียมให้บริการอย่างคุ้มค่า มีแค่ 3 ย่านหลักๆ ได้แก่บริเวณเหนือทวีป อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียซึ่งเป็นบริเวณที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะลูกค้าที่ต้องการใช้บริการมีอำนาจในการซื้อบริการ ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็มีความต้องการแต่ไม่พร้อมด้านการเงิน อันทำให้เกิดปัญหาต่อการจัดส่งดาวเทียมไปไว้ในตำแหน่งในวงโคจรซึ่งมีแนวโน้มเรื่องความคับคั่งสูง

แต่โดยที่วงโคจรสถิตย์เป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีปริมาณจำกัดมาก จึงทำให้นานาชาติต้องแย่งชิงกันส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรในวงโคจรนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคับคั่งจนต้องมีการจัดสรรตำแหน่งในวงโคจรนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรม โดยมีประเทศมหาอำนาจขอให้เพิ่มเงื่อนไขขึ้นมาว่า โดยให้ได้ประโยชน์สูงสุดซึ่งหมายความว่าหากรัฐใดมิได้ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ ที่ตนจองเอาไว้ถึงแม้จะจ่ายค่าจองเป็นประจำ รัฐอื่นก็มีสิทธิที่จะเข้าไปใช้ได้และโดยที่ไม่มีองค์กรระหว่างประเทศใดที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้ เมื่อสหภาพการโทรคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีหน้าที่จัดสรรย่านความถี่ของคลื่นสัญญาณให้ประเทศต่างๆ อยู่แล้ว และดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ ITU จึงทำหน้าที่เป็นผู้จดทะเบียนตำแหน่งใน        วงโคจรสถิตย์ด้วยโดยปริยาย โดย ITU เป็นผู้จัดสรรย่านความถี่ให้โครงการดาวเทียม    แต่ละดวงด้วย ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนการจัดสรรให้โครงการใดแล้ว โครงการนั้นย่อมมีสิทธิที่จะใช้ตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์นั้นๆ ก่อนผู้อื่น ถ้าโครงการดาวเทียมที่เกิดในภายหลังจะทำให้สัญญาณรบกวนกันโครงการที่เกิดขึ้นภายหลังจะต้องเจรจาหารือ (consult) กับโครงการที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อร่วมกันหาทาง ปรับระบบดาวเทียมของตนมิให้มีคลื่น สัญญาณรบกวนกัน

ทั้งนี้การได้รับการจัดสรรตำแหน่งในวงจรสถิตย์ (orbital slot) ไม่ทำให้รัฐที่ได้รับการจัดสรรมีกรรมสิทธิ์ในตำแหน่งในวงโคจรนั้น เพียงแต่ทำให้รัฐนั้นๆมีสิทธิใช้ตำแหน่งในวงโคจรนั้นก่อนรัฐอื่นๆ เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะขายตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่มีข้อห้ามไว้โดยแจ้งชัดมิให้ขาย “สิทธิ”นั้นให้แก่รัฐอื่นบางประเทศเช่นประเทศ Tonga จึงขายสิทธิของตนให้แก่รัฐอื่นหรือให้ผู้ประกอบกิจการดาวเทียมของรัฐอื่นเช่าตำแหน่งในวงโคจรสถิตย์ของตนได้

          Michael  J.  Finch  กล่าวว่า  “จากการคำนวณในทางทฤษฎีพบว่าระดับเทคโนโลยีปัจจุบันนี้สามารถให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรสถิตย์ได้ถึง  2,000  ดวง  หรือให้ดาวเทียมอยู่ห่างกันอย่างน้อย  18  กิโลเมตร  ดาวเทียมจะสามารถโคจรได้โดยไม่ปะทะกันเอง”

          กองแผนงาน  กรมไปรษณีย์โทรเลข  ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการณ์คับคั่งของพบว่า  ที่ย่านความถี่  6/4  GHz  ในวงโคจรบริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้น  ห้วงอวกาศแทบจะไม่มีเหลือว่างอยู่เลย   ทั้งนี้ปรากฏตามภาพแสดงให้เป็นถึงปัญหาความคับคั่งของวงโคจรสถิตย์ในปัจจุบัน  และมีแนวโน้มว่าจะคับคั่งมากขึ้นไปอีกจนในที่สุดอาจไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอีกต่อไป
[]
ปัญหากฎหมายอวกาศในการเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือวงโคจรสถิตย์[/]

โดยทั่วไปแล้วประเทศกำลังพัฒนา  ซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมระหว่างประเทศ  ยังขาดความพร้อมที่จะมีดาวเทียมเป็นของตนเอง  เริ่มหวั่นเกรงว่าเมื่อถึงเวลาที่ประเทศของตนเองมีขีดความสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงท้องฟ้าได้นั้น  วงโคจรดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมก็จะมีดาวเทียมแออัดจนกระทั่งไม่มีตำแหน่ง  (Slot)  ให้ดาวเทียมของตนอยู่ได้  กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจึงได้เรียกร้องให้มีการจัดสรรตำแหน่งของตนแลเรียกร้องให้  “จัดระเบียบการสื่อสารระหว่างประเทศใหม่”  (New  International  Communications  Order)  ประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร  8  ประเทศ  ประกอบด้วย  บราซิล  โคลัมเบีย  คองโก  เอคัวดอร์  อินโดนีเซีย  เคนยา  อูกันดา  และแซร์  ได้ประกาศอ้างสิทธิว่าบริเวณวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐในเอกสารที่ชื่อว่า  Bogota  Declaratioon  1976  โดยอ้างเหตุผลว่าดาวเทียมจะโคจรอยู่ได้ต้องอาศัยแรงดึงดูดของโลก  ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผล ที่จะอ้างว่าวงโคจรดาวเทียมนี้เป็นส่วนที่อยู่ในห้วงอวกาศ  (Outer  Space)  

          ห้วงอวกาศเป็นบริเวณที่อยู่เหนือพื้นโลก ซึ่งครอบคลุมทั้งห้วงอวกาศและดวงดาวต่างๆ  สำหรับห้วงอวกาศมีลักษณะพิเศษในตัวเอง  คือเป็นบริเวณที่มีสถานะระหว่างประเทศทำนองเดียวกับน่านน้ำสากล  หรือทะเลหลวง  (High  Seas)  ในกฎหมายทะเล  ซึ่งไม่เป็นของรัฐใดและมิได้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดๆ   มีปัญหาต้องพิจารณาว่าพื้นที่ที่เป็นห้วงอวกาศเริ่มต้นจากจุดใดบนท้องฟ้า  พื้นที่วงโคจรสถิตย์เป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศหรือไม่  ข้อกล่าวอ้างตาม Bogota  Declaratioon  1976  รับฟังได้หรือไม่

          ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ  นั้น  ห้วงอวกาศทั้งหมดรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุทั้งหลายเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ  ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง  

          การแบ่งเขตระหว่างอวกาศกับน่านฟ้าหรือชั้นบรรยากาศว่า  ชั้นบรรยากาศสิ้นสุด ณ จุดใดและอวกาศเริ่มต้น ณ จุดใด ซึ่งแต่ก่อนนี้จะดูจากความหนาแน่น (density) ของอากาศเป็นเกณฑ์ โดยดูจากว่าเพดานบินสูงสุดของอากาศยานที่บินโดยอาศัยการพยุงตัวของอากาศอยู่ ณ ที่ใดก็ให้ถือว่าชั้นบรรยากาศสิ้นสุดลง ณ ที่นั้น  แต่ปัจจุบันการกำหนดเขตแดนห้วงอวกาศนั้นมีแนวคิดอยู่หลายแนวคิด  แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ  แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ

          ชูเกียรติ  น้อยฉิม  ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศ  (The Spatial Approach)    ว่า “แนวคิดนี้พยายามที่จะสร้างหรือกำหนดเขตแดนที่ต่ำสุดของห้วงอวกาศ (The  Boundary  of  Outer  Space)  ซึ่งกำหนดความสูงโดยเป็นที่ยอมรับของ  COPOUS  ซึ่งใช้แนวคิดเกี่ยวกับระยะอวกาศที่ใช้ทฤษฎีว่าด้วยจุดต่ำสุดของวงโคจรดาวเทียม มาเป็นตัวกำหนดโดยถือว่า ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นความสูงในจุดที่ต่ำสุดของดาวเทียมที่สามารถโคจรเพื่อใช้งานอยู่ได้ปกติและใกล้โลกมากที่สุดประมาณ  100 (± 10)  กิโลเมตร  เหนือระดับน้ำทะเลเป็นห้วงอวกาศ   และในห้วงอวกาศนั้นเทหวัตถุสามารถเคลื่อนที่รอบโลกได้โดยไม่อาศัยระบบขับเคลื่อนใดๆ ”

          อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขอบเขตของห้วงอวกาศอย่างชัดเจน ทำให้ กลุ่มประเทศบริเวณเส้นศูนย์สูตร กล่าวอ้างว่าวงโคจรสถิตย์นั้นขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดของโลก  จากความสัมพันธ์กับโลกดังกล่าวนี้จึงทำให้มิได้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ  ดังนั้นส่วนใดของวงโคจรอยู่เหนือรัฐศูนย์สูตรใดก็ควรอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐนั้น  ข้อกล่าวอ้างนี้มีข้อพิจารณาว่ามีเหตุผลรับฟังได้หรือไม่

          เมื่อเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วงโคจรสถิตย์มีจำกัดอยู่แค่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรเท่านั้นยิ่งทำให้วงโคจรสถิตย์มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุด และเป็นสิ่งที่หมายปองของทุกๆ รัฐ  ดังนั้นบรรดารัฐศูนย์สูตรจึงเรียกร้องอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้  เมื่อเป็นที่รู้กันว่าวงโคจรสถิตย์มีจำกัดและต้องมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมการเรียกร้อง และอ้างสิทธิอธิปไตยจึงถูกคัดค้านอย่างหนัก  และปฏิเสธโดยรัฐอื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมหาอำนาจทางอวกาศ  ซึ่งยืนยันว่าวงโคจรนี้เป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ  เนื่องจากข้ออ้างของรัฐศูนย์สูตรมิได้ตรงกับความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าวงโคจรนี้มิได้ขึ้นอยู่เพียงกับแรงดึงดูดของโลกบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร  แต่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดของโลกทั้งใบ  และยังขึ้นอยู่ปัจจัยอื่นๆ  เช่น  ความสัมพันธ์กับดวงจันทร์  และดวงดาวอื่นๆ  ในระบบ               สุริยจักรวาล  ยิ่งกว่านั้น  วงโคจรเป็นเพียงทิศทางของการบินของวัตถุอวกาศรอบโลก  ซึ่งจะมีตัวตนอยู่ก็เฉพาะสำหรับการสัญจรของวัตถุอวกาศเท่านั้น  จึงไม่อาจอ้างอธิปไตยเหนือวงโคจรนี้ได้   ที่สำคัญประเทศมหาอำนาจต่างถือปฏิบัติหลักการนี้ตลอดมาและไม่ปรากฏว่ามีการคัดค้านอย่างจริงจัง  จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าประชาคมระหว่างประเทศต่างถือปฏิบัติกันมาจนเกิดมีความเชื่อมั่นว่าหลักการนี้เป็นกฎหมาย  (Opinio  Juris)  หรือเชื่อมั่นว่ากฎหมายบังคับให้ต้องปฏิบัติเช่นนั้น  (Opinio  Juris  Sive  Necessitatis)

[]แนวทางการแก้ไขปัญหา[/]
          จากปัญหา ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น  เมื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหา  พบว่า  มีแนวทางแก้ไขดังนี้

          โดยแท้จริงแล้วกล่าวได้ว่าปัญหาเกิดจากความมีจำกัดของทรัพยากร  นั่นคือพื้นที่วงโคจรสถิตย์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห้วงอวกาศ  โดยที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างยอมรับกันว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกันของมนุษยชาติ ไม่อยู่ในอำนาจของรัฐใดที่จะเข้ายึดครอง  ประกอบกับการยอมรับ ในหลักการใช้เสรีภาพในห้วงอวกาศในทางสันติ ตามสนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจ และการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่นๆ  ในระยะแรกของการใช้พื้นที่ต่างถือหลักใครมาก่อนได้ก่อน  (First-come, First-served)  ภายใต้หลักการนี้ผู้ที่มาภายหลังก็จะไม่ได้สิทธิลำดับก่อนในการเข้าใช้ประโยชน์  ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นหลักการที่มีลักษณะผูกขาด  จึงมีความพยายามสร้างระบบควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ในห้วงอวกาศ โดยเฉพาะ  อย่างยิ่ง วงโคจรสถิตย์ขึ้นมาใหม่  ตามแนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม  โดยจัดให้มีขั้นตอนของข้อมูลตีพิมพ์ล่วงหน้า เพื่อให้สิทธิแก่ประเทศทั้งหลายในการที่จะแสดงเจตนาให้เห็นถึงความต้องการในครั้งแรกที่จะเข้าใช้ประโยชน์ จากตำแหน่งที่ตั้งในวงโคจรสถิตย์  และยังมีขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญคือการประสานงานและการดำเนินการแจ้งจดทะเบียนไว้

          องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ  (ITU)  ได้ออกข้อมติประกาศว่า     วงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัด จึงควรใช้อย่างประหยัด และ              มีประสิทธิภาพ  ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันจากทุกประเทศทั่วโลก  ต่อมามีการกล่าวถึงสิทธิแห่งความเท่าเทียมกัน  (Equal  Right)  ของทุกประเทศในการที่จะเข้าใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่ตั้งของดาวเทียมในวงโคจรดาวเทียม  ประเทศต่างๆ  ที่ใช้ประโยชน์อยู่ก่อน  ไม่ควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษถาวรอื่นๆ  ก่อนประเทศอื่นใดที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในภายหลัง  รวมทั้งไม่ควรที่จะกระทำการใดๆ  ที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าใช้ประโยชน์ของประเทศอื่นด้วย  อย่างไรก็ตาม  แม้ข้อว่ามตินี้จะได้รับการสนับสนุนจากจากประเทศสมาชิกทั้งหลายก็ตาม  แต่ก็ไม่มีอำนาจบังคับทางกฎหมายที่จะทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

          ดังนั้น  ปัญหาจึงย้อนกลับมาสู่หลักปรัชญาทางกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นต้นสายธารของหลักกฎหมายอวกาศ  นั่นคือ  การยอมรับนับถือที่จะผูกพันตนในความตกลงระหว่างประเทศ  เพราะหากประชาคมระหว่างประเทศให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังในการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน  และแบ่งปันในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่วงโคจรสถิตย์โดยตั้งอยู่บนหลักการแห่งความเท่าเทียมกัน และมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมโดยอาศัยองค์การระหว่างเทศ  นั่นคือ  องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ  (ITU)   เป็นกลไกในการขับเคลื่อน  และเนื่องจากองค์ความรู้ด้านกฎหมายอวกาศยังมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปในอนาคต  ทั้งนี้เพราะปัจจัยด้านเทคโนโลยี ของมนุษยชาติมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง  ทำให้เกิดความจำเป็น ต้องพัฒนาระบบกฎหมายอวกาศให้สามารถใช้บังคับต่อสังคมโลก ได้อย่างเป็นมีประสิทธิภาพ  และธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมต่อไป

พินัยกรรมขงเบ้ง--บทสะท้อนคุณธรรมนักการเมืองไทย

ขงเบ้งได้รับการยกย่องว่าหยั่งรู้ดินฟ้า มหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึง มังกรซุ่ม หรือ มังกรหลับ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน แม้เมื่อมีชีวิตอยู่ ขงเบ้ง ได้สร้างมาตรฐานคุณธรรมของการบริหารบ้านเมืองไว้อย่างมาก และเมื่อเสียชีวิต พินัยกรรมของท่าน ยังเป็นบทเรียน สั่งสอนคนรุ่นต่อ ๆ มา อย่างน่าทึ่ง

ในบรรดาเสนาบดีทั้งหลาย ในอดีตที่ผ่านมา ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า ... “ขงเบ้ง” เป็นมหาเสนาบดีที่มีสติปัญญาหลักแหลม เป็นกำลังสำคัญของพระเจ้าเล่าปี่ ในการบริหารจ๊กก๊ก อันเป็นหนึ่งในก๊กทั้งสาม ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

ประวัติของท่าน...ขงเบ้งเป็นปัญญาชนชาวนา มีเจตนาที่อุทิศตนถวายตัวให้กับเล่าปี่ เพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองที่กำลังตกต่ำและเกิดวิกฤติ แบ่งเป็นฝักฝ่าย ขงเบ้งเลือกที่จะอยู่กับฝ่ายเล่าปี่ผู้ชูธงธรรมะต้านอำนาจทรราชโจโฉ ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนั้น

อัครมหาเสนาบดี หรือนายกรัฐมนตรีผู้มีอาญาสิทธิ์นามว่า โจโฉ มิได้บริหารประเทศ ตามพระราชประสงค์ขององค์กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่กลับบริหารประเทศเพื่อตนเอง โดยออกระเบียบแก้กฎหมายเพื่อตัวและพวกพ้องของตัว และไม่น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรับพระราชทานกระแสรับสั่งของพระองค์ฮ่องเต้ (เอ ... คุ้น ๆ ไหมนะ ว่าเหมือนใคร)

ต่อมาขงเบ้งรู้ตัวเองว่ากำลังจะตายเมื่ออายุ 54 ปี กลางสนามรบที่ทุ่งอู่จั้ง ขงเบ้งจึงทำพินัยกรรมถึงฮ่องเต้พระเจ้าเล่าเสี้ยน เมื่อได้ฟังพินัยกรรมของขงเบ้งเมืองจีนแล้วก็นึกถึงนักการเมืองไทย โดยเฉพาะการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองบ้านเรา
พินัยกรรมของขงเบ้งมีความว่า ...

“...ได้ยินมาว่า ความเป็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาโลก ยากที่จะหลีกหนี ถวายชีวีเป็นราชพลี คือปณิธานของขุนพล ข้าพระองค์จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ผู้กิ๊กก๊อกกระจอกด้วยปัญญา ถือกำเนิดเกิดมา ในขณะที่บ้านเมืองมีวิกฤติเกิดจลาจล แบ่งเป็นฝักฝ่าย ระส่ำระสาย จำต้องนำ พลกรีธาทัพเข้าปราบศัตรูแดนเหนือ กระทำการยังไม่สำเร็จ ต้องมาล้มป่วยเข้า ขั้นอุกฤษฏ์ สิ้นหวัง ชีวิตใกล้ถึงการดับสูญในวันพรุ่ง มิอาจบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เป็นที่โศกาอาดูรขื่นขมยิ่งนัก ขอให้พระองค์ทรงมีพระทัยสันโดษ ทมะขันติ รักใคร่ในอาณาประชาราษฎร์ บรรลุซึ่งกตัญญุตาธรรมต่อพระบรมชนก เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ อุปถัมภ์ค้ำชูนักปราชญ์ผู้สมถะ ใกล้ชิดขุนนางที่ทรงภูมิปัญญา หลีกห่างขุนนางฉ้อฉล ทุจริต รักษาขนบจารีต

เดิมข้าพระองค์มีต้นหม่อนอยู่ 800 ต้น ที่นาอยู่ 50 มู่ (ไร่จีน) ทรัพย์สินเหล่านี้เพียงพอต่อการทำกินของลูกหลาน ในขณะที่ข้าพระองค์ปฏิบัติภารกิจถวายอยู่ภายนอก ข้าวของเครื่องใช้ล้วนแต่เป็นราชการโดยแท้ ไม่เคยใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ

ในวันที่ข้าพระองค์จะกราบถวายบังคมตายจาก ภายในบ้านไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ภายนอกบ้านก็ไม่มีทรัพย์สมบัติอื่นใด อันจะเป็นการระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลพระบาท ซึ่งเป็นการอกตัญญูต่อแผ่นดิน”


ขงเบ้ง คงเป็นมหาเสนาบดีในอุดมคติ ซื่อสัตย์ต่อฮ่องเต้ อุทิศตนเพื่อบ้านเมือง ยึดมั่นคุณธรรม บางคนอาจคิดว่า คนดี ๆ เช่นนี้ มีอยู่จริงหรือ และมีอยู่มากมายหรือไม่ ... คำถามนี้ กลับตอบได้อย่างยากลำบาก เพราะคุณธรรม เป็นสิ่งสะท้อนสำนึก ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่สามารถชั่ง ตวง วัด เป็นอัตราอย่างใดได้

การพัฒนาแบบถอยหลังของประเทศไทย

การพัฒนา ของไทยในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา

ถ้านิยามว่า การพัฒนาคือการที่เศรษฐกิจ มั่งคั้ง มีเทคโนโลโยทันสมัย บ้านเมืองมีตึกสูงระฟ้า และประชากรมีชีวิตที่ดีสุขสบายละก็ การพัฒนาของประเทศไทยเราดูเหมือนว่าจะถดถอย ลงไปเรื่อยๆ

ประเทศไทยเริ่มเปิดประเทศรับวิทยาการ จากโลกตะวันตกครั้งแรกในสมัย พระนารายมหารราช แต่จริงๆจังๆก็คือ ในหลวง ร5 ซึ่งตรงกับช่วงที่ญี่ปุ่น เปิดประเทศในสมัย เมอิจิ พูดง่ายๆ เราพัฒนามาพร้อมกัน ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชีย ที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นในยุคล่าอาณานิคม ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีระบบการขนส่งแบบราง มีรถไฟ มีระบบไปรษณีย์ โทรเลข ซึ่งนับว่าพัฒนา มากกว่าประเทศ ต่างๆในเอเชียแทบทั้งสิ้น แต่เนื่องจาก โดยธรรมชาติของเผ่าพัน สยาม กับ เผ่าพันธุ์ อาทิตย์อุทัย มีความแตกต่างกันอย่างยิ่งในด้าน ระเบียบวินัย และความขยัน ทำให้ ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาไปได้มากกว่าประเทศไทย ในช่วงก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง พบว่า ญี่ปุ่น มีรถไฟ มีเครื่องบิน มีเรือรบ และมีเทคโนโลยีของตนเองเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ประเทศไทย ยังมึนงง อยู่กับประชาธิปไตย ในอุดมคติอันสวยหรู หลังจากการปฏิวัติ 2475

70 ปีที่แล้ว ครั้น ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง คนในประเทศเขามีพลังแห่งการสร้างชาติที่ยิ่งใหญ่ แต่ประเทศไทยกลับตรงกันข้าม เพราะเราไม่เคยรู้สึกถึงความพ่ายแพ้ ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น ไม่เคยเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ทำให้คนไทย ไม่เกิดความรักชาติ มิหนำซ้ำยังเกิดระบบ การทุจริตในคนทุกชนชั้น ที่เป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั้งญี่ปุ่น กลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั้งทางเศรษฐกิจ

ในช่วง 30 -40 ปี ที่ผ่านมา  ไทยก็ถูกลด อันดับ ว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขัน พอๆกับ เกาหลีใต้ ไทยมีรถ ตุ๊กๆ สามล้ออันเป็นเอกลักษณ์  ในขณะที่เกาหลีมี แดวู  ไทยมีสินค้าอิเล็กทรอนิก คือ ธานิน  เกาหลีมี ซัมซุง แต่คนไทยไม่เคยนิยมสิ่งที่คนไทยคิด สินค้าของไทยจึงต้องปิดตัวไป แต่สินค้าเกาหลี ปัจจุบันกลายเป็น บริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ มีรถยนต์ หลายค่าย และมีเทคโนโลยีที่พัฒนาแซงไทยไปหลายสิบปี

ในช่วง 10-20 ปี ที่ผ่านมา ไทยก็ถูกจัดให้เป็นเสือเศรษฐกิจ ตัวใหม่ เช่นเดียวกับ ไต้หวัน และ สิงคโปร์ แต่ด้วยสาเหตุเดิมๆ ที่มีมาเป็นพันธุกรรมของชาติสยาม ทำให้เราไปไม่ถึงฝัน

10 ปีที่ผ่านมา เราพัฒนาเท่าๆ กับ มาเลเซีย ก่อนที่มาเลเซีย จะแซงหน้าไป หลังจากวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่ก็มีประเทศเกิดใหม่ อย่าง จีน และเวียดนามที่เป็น คอมมิวนิส ขึ้นแทน

5 ปี ที่ผ่านมา เวียดนามพัฒนาตามหลังเราในหลายด้าน จนกระทั้งปัจจุบัน เวียดนามสามารถพัฒนา จนแซงหน้าประเทศ ไทยไปแล้วหลายเรื่อง ประเทศเวียดนามจะมีรถไฟความเร็วสูงแบบ ชินกันเซ็น เชื่อม ระหว่าง ฮานอย และโฮจิมิน มีรถไฟใต้ดินใช้ ปลายปีหน้า มีรถไฟฟ้าmomorail ใช้ ขณะที่ไทยเรา มีรถไฟใช้มาเกือบ 100 ปี แต่ยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่เวียดนามพัฒนามาได้แค่ 10 กว่าปีเท่านั้น

อนาคต นับจากนี้ ไทยเราจะแข่งกับ ฟิลิปปินส์ ตามด้วย กัมพูชา พม่า และต้องถูกลดขั้นไปแข่งกับประเทศ แอฟริกา ภายใน 15 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน

คำถาม เพราะเหตุใด ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และน่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กลับมีการพัฒนาที่ถดถอยเช่นนี้ ตึกรามบ้านช่อง เทคโนโลยีอันทันสมัย ที่เห็นในกรุงเทพ ไม่ใช่ของคนไทยเลย เราซื้อเขามา ทั้งสิ้น อสังหา ทั้งหลายที่ผุดขึ้นมาจากเงินทุนต่างชาติ แทบทั้งสิ้น KFC MC Donal สิ่งพวกนี้คอยดูดเงินคนไทยไปจนหมด

อานาคต ลูกหลานของเราจะมีชีวิตอย่างไร ความผิดนี้ไม่ใช่ รัฐบาล ไม่ใช่ทักสิน ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่เหลือง ไม่ใช่แดง ให้คนปัจจุบันเก็บไปคิดว่าลูกหลานท่านจะเป็นอย่างไร

อย่าโทษคนอื่นว่า ใครเป็นสาเหตุ ให้ไทยพัฒนาถอยหลัง  คนไทยต้องมีระเบียบวินัย  คนไทยต้องขยัน คนไทยต้องรักกัน อย่าโทษว่าใครทุจริต ตราบที่ตนเอง ยังลอกข้อสอบ ฝ่าไฟแดง คตโกงเล็กๆน้อย ....

ประวัติศาสตร์ชาวบ้าน คือ ประวัติศาสตร์ของชุมชน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจากระดับบนสู่ระดับล่าง ทำให้เกิดการทำลายกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้คนในท้องถิ่นไม่รู้จักตัวเอง”

          อดีตปัจจุบัน และอนาคต เป็นมิติเวลาที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ  ดังเช่น ความเป็นมาของผู้คนในชุมชนที่อาจมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ก็ได้  แต่เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เดียวกันหลายชั่วคน ก็จะเกิดสำนึกร่วมขึ้นเป็นคนในท้องถิ่นเดียวกัน  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่จากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นหัวใจของการทำงานที่สำคัญของ รศ. ศรีศักร  วัลลิโภดม ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา  ที่เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนความเป็นตัวตนและพัฒนาการของคนในพื้นที่จากอดีตสู่ปัจจุบัน

          เรื่องนี้เป็นที่โต้แย้งกันมานานแล้ว เพราะเมื่อก่อนเราศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับประเทศโดยไม่ได้มองคนระดับท้องถิ่น กระแสของการศึกษาประวัติศาสตร์ระดับท้องถิ่นเองก็มีหลากหลายกลุ่มหลากหลายแนวคิด ผมเองก็เป็นหนึ่งทางด้านการเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น  หนึ่งในกลุ่มเดียวกับผมที่ศึกษาด้านนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันก็คือ รศ.ดร.ธิดา  สาระยา

วิธีการทำงาน การค้นคว้าหาข้อมูลและหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นอย่างไรคะ


          ที่จริงแล้วผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์   ผมเป็นนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านชาติพันธุ์ (ethnography)  งานการศึกษาของนักมานุษยวิทยาต่างกับนักโบราณคดีอย่างหนึ่งคือนักโบราณคดีเน้นการศึกษาอดีตที่ไกลมากในยุคประวัติศาสตร์  แต่นักมานุษยวิทยาเน้นการศึกษาด้านสังคมปัจจุบันโดยใช้คนเป็นตัวตั้ง และถ้าจะศึกษาสังคมปัจจุบันต้องย้อนกลับไปศึกษาถึงสังคมของคนที่อยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์สังคมไม่ใช่ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม

          ฉะนั้นวิธีการศึกษาของผมในฐานะเป็นนักมานุษยวิทยา ผมจึงมองแบบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าเป็นเรื่องคนในท้องถิ่นนั้นที่สัมพันธ์ กับพื้นที่ เน้นการศึกษาที่ต่อเนื่อง  ซึ่งความเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผมต้องศึกษาย้อนหลังขึ้นไปถึงบรรพบุรุษ ของพ่อแม่ปู่ย่าตายายจนถึงในระดับที่นับเรียงลำดับไม่ได้แล้วว่าคนในท้อง ถิ่นนี้เขาอยู่กันมากี่ชั่วคน การศึกษาแบบนี้ทำให้เข้าถึงคน เข้าใจคน แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงจะมองไม่เห็นใน ระดับนี้ จะเห็นแต่สมัยที่หมดไปแล้วคือ เป็นสมัยอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง...อะไรทำนองนั้น

          ประวัติศาสตร์ที่นักมานุษยวิทยาอย่างพวกผมศึกษาอยู่เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ตาย เพราะคนในท้องถิ่นจะมีความสัมพันธ์ที่สืบเนื่องต่อ ๆ กันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน  ทำให้เข้าใจปัจจุบันได้  นี่คือหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในความคิดของผม

          ส่วนวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูลของเราก็คือ คุณต้องลงพื้นที่ เพราะงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบนี้ไม่ใช่งานเอกสาร เพราะชีวิตของคนในท้องถิ่นบางอย่างไม่ได้มีการเขียนบันทึกไว้ มีแต่อยู่ในความทรงจำของคนในท้องถิ่นที่เราจะได้ข้อมูลเหล่านี้จากการเข้าไปสัมภาษณ์ เข้าไปสังเกตการณ์ เข้าไปสัมผัสกับพื้นที่จริง
ประสบการณ์ลองผิดลองถูกกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

          ในระยะแรก การศึกษาแบบนี้ก็มีจุดอ่อนเหมือนกันเพราะว่าเราเข้าไปในฐานะที่เป็นคนนอกทำให้เห็นความเป็นไปในท้องถิ่นได้ไม่มากเท่ากับคนในพื้นที่ ถึงแม้จะเข้าไปสัมผัสเป็นเวลานานแค่ไหนก็ตาม  ดังนั้นแนวการทำงานจึงเปลี่ยนบทบาทจากเดิมเราจะนำอาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ ไปเก็บข้อมูล แล้วรวบรวมเรียบเรียงเขียนขึ้นโดยตีความจากความเข้าใจของเราเอง ซึ่งการศึกษาแบบนี้ก็ได้ผลในระดับหนึ่งที่ยังเป็นภาพนิ่งเท่านั้น  แต่ถ้าต้องการให้การศึกษายกระดับขึ้นกว่านี้ เราก็เปลี่ยนมาให้ชาวบ้าน ให้คนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรม เจ้าของประวัติศาสตร์มาศึกษาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของตัวเอง จึงจะแลเห็นภาพเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลง โดยเราทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งทำให้เกิดความครบถ้วนในเนื้อหา เป็นฐานความรู้ที่รวมสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้สามารถมองว่าในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน

          ด้วยวิธีการศึกษาแบบนี้จะทำให้คนในท้องถิ่นรับรู้ว่าต่อไปในอนาคต เขาจะต้องพัฒนาตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นได้อย่างไร  ซึ่งเป็นการนำหลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่า “เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา” มาประยุกต์ใช้นั่นเอง
ความยากในแต่ละพื้นที่

          การศึกษาประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการและขั้นตอนการทำงาน เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน  ความคิดของแต่ละกลุ่มคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนเข้าใจได้เร็ว บางคนเข้าใจช้า  เราต้องทำหน้าที่วิเคราะห์ ตีความ แยกหมวดหมู่ข้อมูลแต่ละประเภทประวัติศาสตร์ที่ได้จากชุมชนไม่มีการบิดเบือนไปจากเดิมบ้างหรือคะ

          ไม่มีใครพูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นในอดีตได้ 100%  แต่ว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด   ถ้าใกล้ความเป็นจริงแล้วคนในท้องถิ่นเข้าใจ  จะดีกว่าที่คนนอกเป็นผู้เขียน เพราะเขียนยังไง ตีความแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แล้วคนนอกก็ใช้สื่อกันเอง  แบบนี้จะใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้เลยการสร้างเครือข่ายการทำงานวิจัยด้านนี้

          ใช้วิธีฝึกกลุ่มคนที่จะเข้าไปศึกษาในพื้นที่ ในลักษณะที่เป็นพี่เลี้ยงไม่ใช่เป็นพระเอก
          โดยแต่ละคนต้องมีแนวคิด มีทฤษฎี มีกรอบวิธีการคิดที่ช่วยให้มองอะไรได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล  คือศึกษาวิธีการต่าง ๆ ให้รู้พอสมควรอย่างยืดหยุ่น  และเมื่อลงพื้นที่แล้วต้องรู้จักปรับเปลี่ยน จัดการไปตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่  

ประชา(ธิป)ตาย ของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

มีเรื่องประหลาดเรื่องหนึ่งเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ว่าจอมอสูร จอมเผด็จการ แอนตี้ไครส์ นามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามประบอบประชาธิปไตย… ตอบแบบง่ายและผิวเผิน ก็ต้องบอกว่าใช่ แต่ว่ายังมีเรื่องอื่นๆ อีกยาวเหยียดครับ คำว่า “เลือกตั้งมา” ไม่ได้ฟอกตัวให้ใครดีขึ้นมาได้ หากการกระทำยัง จุด จุด จุด (โดย จุด จุด จุด คืออาการที่ไม่อยากให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูล)

เมื่อปรัสเซีย(เยอรมัน)แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะซึ่งถือว่าตนสูงส่ง ก็เข้ามาจัดการเยอรมันผ่านสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919; ขนาดประเทศผู้ชนะ ต่างก็ประสบเศรษฐกิจตกต่ำ นับประสาอะไรกับเยอรมันที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล บ้านเมืองย่อยยับป่นปี้ ผู้คนบ้านแตกสาแหรกขาด

อย่างไรก็ตาม ระบบประชาธิปไตยของเยอรมันก็เดินไปตามกลไก จนในเดือนมีนาคม 1932 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตามรัฐธรรมนูญเยอรมันในเวลานั้น ประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งผลออกมาว่า Paul von Hindenburg ได้ 49.6% Adolf Hitler ได้ 30.1% Ernst Thaelmann ได้ 13.2% และ Theodore Duesterberg ได้ 6.8%

เนื่องจากไม่มีใครได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง โดยเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสามราย มาเลือกกันใหม่อีกทีหนึ่งในอีกเดือนหนึ่งต่อมา ซึ่งได้ผลเป็น Hindenburg 53.0%, Hitler 36.8% และ Thaelmann 10.2%

ประธานาธิบดี Hindenburg แต่งตั้ง Franz von Papen เป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) แต่ว่า Papen ยุบสภาทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งครั้งที่สามในเวลาห้าเดือน! คราวนี้ พรรค DAP (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Nazi) กลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา มี สส. 230 คนจาก 608 ที่นั่ง

ฮิตเลอร์ต้องการให้ฮินเดนเบิร์กแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ฮินเดนเบิร์กปฏิเสธ (ตามคำให้การของ Otto von Meissner ผู้ช่วยฮินเดนเบิร์กในศาลอาชญากรรมสงครามที่เมืองนูเรมเบิร์ก) ว่า

Hindenburg replied that because of the tense situation he could not in good conscience risk transferring the power of government to a new party such as the National Socialists, which did not command a majority and which was intolerant, noisy and undisciplined.

เกมการเมืองดำเนินต่อไปโดยมีการยุบสภา และเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในเดือนพฤจิกายน คราวนี้พรรค DAP เสียไปสองล้านคำแนนและเสียเก้าอี้ไป 34 ที่นั่ง แต่ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา

ในความพยายามที่จะปลดล็อคความยุ่งเหยิงทางการเมือง Hindenberg ปลด Papen แล้วตั้งนายพล Kurt von Schleicher เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างมากในสภาได้ Schleiher ก็ต้องลาออกอีกหลังจากได้รับการแต่งตั้งเพียง 57 วันเท่านั้น

ในที่สุด Hindenberg ก็แต่งตั้ง Adolf Hitler เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันในปลายเดือนมกราคม 1933 แม้ว่าพรรคของฮิตเลอร์จะไม่เคยได้เสียงข้างมากในสภา เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ความพยายามของฮิตเลอร์และพรรคนาซีที่จะรวบอำนาจ กลับเป็นไปอย่างง่ายดาย

เพียงเดือนเดียวหลังจากที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐสภา (Reichtag) ก็เกิดไฟใหม้ พรรคนาซีก็ระดมปล่อยข่าวว่าเป็นฝีมือคอมมิวนิสต์ การเผารัฐสภาเป็นสัญญาณของสงครามปลดปล่อยและสงครามกลางเมือง

เพียงวันเดียวหลังจากที่ไฟไหม้รัฐสภา ฮิตเลอร์หว่างล้อมฮินเดนเบิร์กให้ออกรัฐบัญญัติมอบอำนาจ (ภาษาอังกฤษมีรายละเอียดมากกว่า) โดยให้เหตุผลว่าเป็น “มาตรการป้องกันความรุนแรงจากการกระทำของพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้รัฐอยู่ในอันตราย”

รัฐบัญญัตินี้ มีเพียง 5 มาตราซึ่งมาตรา 5 กำหนดเอาไว้ว่ามีระยะบังคับใช้เพียงสี่ปี ดูเผินๆ ก็เหมือนจะดีที่สร้างความคล่องตัวให้กับรัฐ แต่มาตราอื่นทำให้รัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการ “อะไรบางอย่าง” แม้จะเบนออกนอกรัฐธรรมนูญไปก็ได้แต่จะต้องไม่กระทบต่อสาระสำคัญซึ่ง “อะไรบางอย่าง” นั้น กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเยอรมันด้วย เช่นปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาดรุนแรง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ฯลฯ

Restrictions on personal liberty, on the right of free expression of opinion, including freedom of the press; on the rights of assembly and association; and violations of the privacy of postal, telegraphic and telephonic communications; and warrants for house searches, orders for confiscations as well as restrictions on property, are also permissible beyond the legal limits otherwise prescribed.

สองสัปดาห์หลังจากไฟไหม้รัฐสภา ฮิตเลอร์ของให้ สส.มอบอำนาจให้เขาชั่วคราวในการทำให้บ้านเมืองสงบ ญัตตินี้ผ่านด้วยคำแนน 441 ต่อ 84 ซึ่งเกินสองในสาม อันเป็นเหตุให้ฮิตเลอร์ระงับใช้รัฐธรรมนูญของเยอรมันได้ กลายเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบไป…

…ที่เหลือก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว…

ถ้าถามว่าฮิตเลอร์นอกจากแสวงหาอำนาจแล้ว ไม่ทำอะไรเลยเหรอ ก็ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ เขาทำรถราคาถูกออกมา (โฟล์ค) คนเยอรมันเสียเซลฟ์มาก จากการถูกกดขี่เนื่องจากแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮิตเลอร์จัดโอลิมปิคสมัยใหม่ขึ้น เขาพยายามสร้างความภูมิใจในสายเลือดอารยัน; คงเรียกได้ว่าเป็น “อาจสามารถโมเดล” ของเมื่อแปดสิบปีก่อน และได้รับการสนับสนุนจากชาวเยอรมันเป็นจำนวนมาก

How Hitler became a dictator
เยอรมันสูญชีวิตทหาร 5.3 ล้านนาย และพลเรือนอีก 1.4 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่สอง (มีอีกประมาณ 12 ล้านคนที่ตายในค่ายกักกันของเยอรมัน และอีกประมาณ 7 ล้านตายบนแผ่นดินยุโรป แต่ทั้งสองกลุ่มเป็นพลเมืองของหลายประเทศ)

บทเรียนที่มนุษยชาติไม่รู้จักเรียนก็คือ อำนาจทำให้คนแสดงธาตุแท้ คนที่แสวงหาอำนาจเป็นคนที่ไม่มีอำนาจ คนไม่เคยมีอำนาจมองเห็นแต่อำนาจ(กระพี้)โดยมองไม่เห็นความรับผิดชอบ(แก่น)แถมยังอาจใช้อำนาจไม่เป็นอีกด้วย

สรุป 10 ข่าวร้อนการเมืองปี 2552 (เดลินิวส์)

 1. เหตุการณ์เมษาฯ เดือด

          กลุ่ม นปช. ก่อการชุมนุมแบบยืดเยื้อเพื่อขับไล่รัฐบาลขั้นแตกหัก เริ่มจากการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2552 และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงวันที่ 8-14 เม.ย. 2552 ทั้งปิดเส้นทางการจราจรหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ จนไปถึงการล้มการประชุมอาเซียนที่พัทยา จ.ชลบุรี ปิดล้อมกระทรวงมหาดไทย และ ทำร้ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนรัฐบาลต้องใช้กำลังทหารเข้าระงับเหตุการณ์ และสามารถคลี่คลายสถานการณ์ โดยไม่มีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ถือเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พฤษภาปี 35
  
          2. ยิง "สนธิ ลิ้มทองกุล" เย้ย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

          เช้ามืดของวันที่ 17 เม.ย. 2552 ท่ามกลางการประกาศ ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้เกิดเหตุอุกอาจ โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกลอบยิงด้วยอาวุธสงคราม รวม 100 นัด บริเวณใกล้กับสี่แยกบางขุนพรหม แต่นายสนธิกลับรอดตายอย่างปาฏิหาริย์ ตำรวจตั้งปมสังหารไว้หลายประเด็นโดยเฉพาะประเด็นการเมือง แม้เหตุการณ์ครั้งนั้น จะกดดันรัฐบาลให้เร่งหาคนร้าย แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ หรือแม้กระทั่งระบุสาเหตุที่แท้จริงของคดี

          3. นิพนธ์ไขก๊อกเซ่นเก้าอี้ ผบ.ตร.

          การประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2552 เพื่อสรรหาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่กลายเป็นการชิงดำระหว่าง พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ ที่เสนอชื่อโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่ ก.ต.ช. บางคนสนับสนุน พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร. ที่สุดไม่มีข้อสรุป นายอภิสิทธิ์จึงสั่งเลื่อนการประชุมแบบไม่มีกำหนด ส่งผลกระทบต่อภาวะความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึง "สัญญาณพิเศษ" จนสุดท้ายนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต้องยื่นใบลาออก สะท้อนภาพรอยร้าวลึกภายในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เป็นครั้งแรก

          4. สภาผู้แทนฯ ล่มซ้ำซาก

          ในปี 2552 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย คือ สมัยสามัญทั่วไป ระหว่างวันที่ 21 ม.ค.-19 พ.ค. และการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ วันที่ 1 ส.ค.-29 พ.ย. ซึ่งมีการประชุมรวม 71 ครั้ง แต่เกิดเหตุสภาล่มจากปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ 7 ครั้ง ซึ่งในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณากรอบข้อตกลงระหว่างประเทศ เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2552 มีการประชุมสภาล่ม 3 ครั้งซ้อน อีกทั้งในการประชุมสภา ส.ส. ตะโกนด่าทอกันด้วยถ้อยคำหยาบคายถึงขั้นแจก "ของลับ" กลางห้อง ประชุมสภา และยังเกิดกรณี ส.ส.พรรคเพื่อไทยพากันโดดการประชุมสภา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2552 ไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ประเทศกัมพูชา ขณะเดียวกันเกิดประเด็นการขอขึ้นเงินเดือนของ ส.ส.-ส.ว.

          5. ล้มประชุมอาเซียนพัทยา

          ประเทศไทย ทำหน้าที่จัดการประชุมอาเซียนในฐานะผู้นำอาเซียน แต่ทว่าภารกิจนี้ ไทยได้ทำหน้าที่ถึง 3 ครั้ง เริ่มจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 วันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค. 2552 ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่พัทยา เมื่อวันที่ 10-12 เม.ย. แต่ก็ถูกล้มโดยกลุ่มคนเสื้อแดงบุกถึงในสถานที่การจัดประชุม สะท้อนภาพความวุ่นวายภายในประเทศที่ลุกลามสร้างความเสื่อมเสียต่อประเทศในสายตาชาวโลก ไทยจึงต้องแก้มือด้วยการจัดประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมกับประเทศคู่เจรจาใหม่เมื่อวันที่ 23-25 ต.ค ที่ อ.ชะอำ และ อ.หัวหิน ก่อนจะส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนให้ประเทศเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2553

          6. "เนวิน" พ้นบ่วงคดีกล้ายาง

          เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2552 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษายกฟ้อง 44 จำเลย ในคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา จำนวน 90 ล้านต้น หลังศาลตัดสิน จำเลยทั้ง 44 คน ไม่มีความผิดไม่ว่าจะเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรฯ และนายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช. คลัง คดีนี้หลายฝ่ายจับตามองโดยเฉพาะที่ตัวนายเนวิน แกนนำพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเชื่อกันว่าถ้านายเนวินถูกตัดสิน อาจกระเทือนถึงเสถียรภาพของรัฐบาล

          7. "บิ๊กจิ๋ว" คัมแบ๊กเข้าสังกัดเพื่อไทย

          จากมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็น 1 ในผู้กระทำผิดอาญาจากคดีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ได้สร้างความไม่พอใจต่อ พล.อ.ชวลิต จนถึงขั้นตัดสินใจหวนคืนเวทีการเมือง ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2552 และรับตำแหน่งเป็นประธานพรรค แต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ฝากข้อคิดสะกิดใจไปบอกถึง พล.อ.ชวลิต ว่า "ขอให้คิดให้รอบคอบ ไม่อย่างนั้น จะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศต่อชาติ"

          8. ตั้ง "ทักษิณ" ที่ปรึกษาฮุนเซน

          วันที่ 4 พ.ย. 2552 รัฐบาลกัมพูชาประกาศแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ต้องโทษจำคุก 2 ปี ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา ขณะเดียวกันปฏิเสธการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณให้แก่ไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไทยจึงประท้วง โดยเรียกตัวเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศกัมพูชากลับทันที ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาได้เรียกเอกอัครราชทูตกลับเช่นกัน จากนั้นได้ลุกลามจนมีการจับกุมนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ประจำหน่วยงานจราจรอากาศของบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส (แคตส์) ข้อหาจารกรรม แต่กษัตริย์นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา พระราชทานอภัยโทษแก่นายศิวรักษ์เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2552

          9. "สมัคร สุนทรเวช" ถึงแก่อนิจกรรม

          นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 และอดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 74 ปี เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2552 ด้วยโรคมะเร็งตับ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ถือเป็นการปิดฉากนักการเมืองรุ่นลายคราม ที่มีลีลาทางการเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

          นายสมัครเริ่มต้นทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็น รมว.มหาดไทย ในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ต่อมาได้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และเคยชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อปี 2543 ด้วยคะแนนเกิน 1 ล้านเสียง ก่อนมารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนจนชนะเลือกตั้งก้าวขึ้นเป็นนายก รัฐมนตรีคนที่ 25 แต่ต้องหลุดจากตำแหน่งเพราะถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้ตนเองจากกรณีเป็นพิธีกรรายการ "ชิมไป บ่นไป"

          10. ไทยเข้มแข็ง สธ.พ่นพิษ

          เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2552 นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข แถลงผลสอบสวนสรุปว่า ส่อไปในทางทำให้เกิดการทุจริตจริง และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ส่งผลให้นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ต้องประกาศลาออกในวันที่ 29 ธ.ค. และทำให้กฎเหล็ก 9 ข้อของนายอภิสิทธิ์สามารถใช้เป็นมาตรฐานได้จริง ทั้งนี้โครงการไทยเข้มแข็งถือเป็น "จุดขาย" ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ หวังจะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความนิยมทางการเมือง แต่ต้องมาสะดุดเพราะเกิดปัญหาเรื่องความไม่ชอบมาพากล

สังคมที่เลวสร้างตำนานวีรชน

ยังสะเทือนและสลดใจไม่หาย กับข่าวการสูญครั้งยิ่งใหญ่ของครอบครัวแกนนำ “นายทองนาค เสวกจินดา” นักต่อสู้ เพื่อคัดค้านการขนถ่ายถ่านหิน จ.สมุทรสาคร เป็นความสูญเสียของชุมชนแห่งนั้น เป็นความสูญเสียของสังคมไทย ที่มักจำหน่ายทิ้งคนดีไปสู่ความตาย ก่อนจะกระตุกตื่นตัว จึงเป็นความน่าอัปยศของกลไกรัฐที่ไม่มีปัญญาปกป้องสิทธิ ชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ไม่มีปัญญาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปกป้องความยุติธรรม และเป็นความชั่วช้าของนายทุน พ่อค้า พวกคนเลวมากอิทธิพล โดยเฉพาะคนที่สมรู้ร่วมคิด ที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่ประโยชน์ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอื่นๆ ขอให้ฉิบหาย ตายห่าตามๆ กันไป

ปัญหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่อคนแก่ตัว จิตใจชั่วช้ากับรัฐ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความตื่นเขิน ขี้ขลาดและเห็นแก่ได้ของสื่อมวลชน ที่ถ้าไม่เกิดเหตุ มีความสูญเสียก็ไม่เป็นข่าว ไม่ตีแผ่  แม้แต่เอ็นจีโอ เองก็เลิกโง่ บ้าและงมงาย องค์กรทุนอย่าง สสส. ก็หยุดถลุงเงินภาษีไปกับปัญหาเชิงจริตของชนชั้นกลางได้แล้ว เพราะตอนนี้ชาวบ้านกำลังเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ต้องการเงินทุน ต้องการทรัพยากรมากระตุ้น มาปลุกการทำงานพัฒนา มารื้อสร้างองค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง ดูแลปกป้องตนเองจากพลังทุนและอิทธิพลมืดได้บ้าง เพราะในปัจจุบันนี้  ปัญหาเหมืองแร่เหมืองทองที่จังหวัดเลย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำลังคุกรุ่น ไม่รู้ชาวบ้านและแกนนำจะโดนวันใด ปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินเชียงราย สระบุรี ก็ไม่น่าไว้ใจ ปัญหาโรงไฟฟ้าชีวมวล ฉะเชิงเทรา ปราจีน อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์  ชุมพร ราชบุรี ก็ปะทะเนืองๆ ปัญหาป่าไม้ ปัญหาอุทยานฯ ทับที่ทำกิน ตอนนี้ก็หนักกำลัโดนไล่รื้อสุ่มสี่สุ่มห้า ชาวบ้านอยู่มาก่อนอุทยานฯ ก็พลอยซวยไปด้วย ปัญหาเหมืองแร่โปแตซ ที่ อุดรธานี ก็ดื้อดึงจะขุดใต้ถุนบ้าน ปัญหาน้ำท่วมธรรมชาติที่เริ่มจะไม่ธรรมชาติเมื่อคนต้นน้ำ กลางน้ำผลักไสน้ำโดยการสร้างพนังกั้นขอบแม่น้ำสูง 3 เมตร เพื่อให้น้ำไหลลงกรุงเทพและปริมณฑลอย่างเดียว ปัญหาท่าเรือน้ำลึกและการยัดเยียดนิคมอุตสาหกรรมให้พี่น้องชาวใต้ นครศรีธรรมราช สตูล สุราษฎร์ธานี ตรัง และ จะนะ สงขลา ปัญหาคนท้องถิ่นกำลังตกหล่นจากการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ทั้งใน กระบี่ ภูเก็ต พังงา ปัญหาอากาศพิษถึงขั้นอันตรายปกคลุมไปทั่วภาคตะวันออก ซึ่งยิ่งนานวันก็ยิ่งทวีความรุนแรง ชาวบ้านแกนนำสู้หัวชนฝา ในขณะที่กลุ่มนายทุน ก็จดจ้องจะจัดการขั้นรุนแรง ไม่รู้ว่ารายต่อไปชาวบ้านคนไหนจะโดนก่อน นี่ไม่นับรวมบรรยากาศความน่ากลัวจากกลุ่มโจรก่อการร้าย ที่ชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้อีก

เรื่องการต่อสู้ เรื่องของการลุกฮือปกป้องสิทธิของตนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากหรอก “ก็ถ้ามีใครเอาขี้มาไว้หน้าบ้านเรา เราหรือจะยอม หรือถ้ามีใครมาขุดรื้อใต้ถุนบ้านเรา เราจะนอนหลับฝันหวานอยู่ได้ยังไง ทรัพย์ในดินสินในน้ำนั่นมันของเรา   กฎหมายจะเขียนยังไงก็ได้ ก็เขียนไป แต่สิทธิ์นี้เรายืนยันไม่ให้ ถ้าอยากได้นัก  ก็ลองดู”    จะมาเขียนกฎหมาย ปล้นเอาของเราแต่ปู่ย่าตายายไปได้ยังไง ซึ่งก็นั่นแหละ ประชาชนชอบเงิน เลือกแต่นักการเมืองมากเงิน ถึงยามนี้ก็ต้องสำนึกสำเหนียกแก่ใจไว้ด้วยว่า เขาถนัดบริหารทุน แล้วก็หาทุน ถอนทุน ส่วนทุนจะมาจากไหน ก็คิดได้ไม่ยาก จากเงินภาษี จากทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมของประเทศนี่แหละ คงไม่มีใครบ้าควักเงินในกระเป๋าตัวเองไปแจกประชาชนหรอก แต่จะควักเอาเงินของประชาชนนี่แหละมาให้ เอาเงินเอาความมั่งมีเอาทรัพย์สินของลูกหลานในอนาคตมาถลุง มาจ่ายแก่คนรุ่นพ่อแม่ที่เห็นแก่ได้ ที่อ้าแขนรับ ระวังจะยังไม่ตายดีบาปกรรมเหล่านั้นจะตามทัน  !!
ตอนนี้สังคมไทยจำนวนหนึ่งกำลังตื่นตัวรักบ้านรักเมืองรักแผ่นดินตามกระแสหนังย้อนประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้เพียง 3 บรรทัด เรื่อง “ขุนรองปลัดชูกับทหารกล้าแห่งวิเศษไชยชาญ 400 นาย“ นั่นคือเรื่องเมื่อ 200 ปีก่อน ที่อยู่ในตำนานการเล่าขาน สดุดีวีรชนของชาวบ้านซึ่งเป็นทหาญกล้าประจำท้องถิ่นตน  แต่หลังจาก 200 ปีนั่นมาถึงปัจจุบันก็มีวีรชนผู้กล้าเกิดดับตามมาไม่น้อย หรือจะเอาแค่  10-20ปีที่ผ่านมา ก็มากมาย  ที่ชาวบ้านตัวเล็กๆ ข้าราชการชั้นผู้น้อย ลุกขึ้นมาปกป้องชุมชน จนต้องถูกสังหาร ไม่ว่าจะเป็น

ครูประเวียน บุญหนัก แห่งอำเภอวังสะพุง เลย
โจ.. พิทักษ์ โตนวุธ แห่งบ้านห้วยชมพู่ อ.เนินมะปราง พิษณุโลก
พระสุพจน์ สุวโจ แห่งสวนเมตตาธรรม อ.ฝาง เชียงใหม่
เจริญ วัดอักษร บ้านบ่อนอกบ้านหินกรูด ประจวบคีรีขันธ์
ไม น้อยนารายณ์ นักอนุรักษ์จากเขื่อนท่าแซะ จังหวัดชุมพร
จุรินทร์ ราชพล นักอนุรักษ์ป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต
นรินทร์ โพธิ์แดง นักอนุรักษ์ต่อต้านการโรงโม่หิน เขาชะเมา จังหวัดจันทบุรี
ฉวีวรรณ ปีกสูงเนิน ผู้ขัดขวางการทุจริตการก่อสร้างที่ นากลาง อำเภอสูงเนิน
สุวัฒน์ วงศ์ปิยะสถิตย์ แกนนำผู้คัดค้านบ่อกำจัดขยะราชาเทวะ สมุทรปราการ
สมพร ชนะพล ผู้คัดค้านการสร้างเขื่อน คลองกระแดะ สุราษฎร์ธานี
บุญสม นิ่มน้อย แกนนำอนุรักษ์และคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงแยกคอนเดนเสท ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี
ปรีชา ทองแป้น ผู้คัดค้านการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ตำบลปากแพรก ทุ่งสง นครศรีธรรมราช
บุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ ผู้ต่อต้านการค้าไม้เถื่อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บุญยงค์ อินต๊ะวงศ์ แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงโม่หินดอยแม่ออกรู จังหวัดเชียงราย
คำปัน สุกใส แกนนำเครือข่ายป่าชุมชนเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สำเนา ศรีสงคราม ประธานชมรมชาวบ้านฟื้นฟูอนุรักษ์ลำน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิมและรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
ชวน ชำนาญกิจ แกนนำชุมชนต้านยาเสพติด อ.ฉวาง นครศรีธรรมราช
แก้ว ปินปันมา แกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ที่ดินในพื้นที่กิ่ง อ.ดอยหล่อ


และคนล่าสุด ที่สะเทือนใจคนดี ที่รักบ้านเกิด รักแผ่นดิน รักชุมชนและครอบครัว อย่าง นายทองนาค เสวกจินดา อายุ 46 ปี แกนนำต่อต้านการขนส่งถ่านหินในพื้นที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งถูกนายทุนกับสมุนล้อมฆ่าอย่างโหดเหี้ยมโดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน !!

สังคมไทยกำลังเป็นสังคมที่หมักหมมคนชั่วให้กำเริบเสิบสานโดยที่อำนาจบ้านอาญาเมืองจัดการไม่ได้ เข้าไม่ถึงนั้น จะนำมาซึ่งการลุกฮือของคนเล็กคนน้อยที่สุดจะทน จนเกิดการลุกฮือต่อสู้พลีร่างอุทิศตน และเกิดประวัติศาสตร์ เกิดตำนานวีรชนคนท้องถิ่นและแน่นอนเกิดสำนึกปฏิปักษ์แข็งข้อ หรือ  “ขบถ”  ต่อบ้านเมือง ที่ไม่ปกครองให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งอันตราย !!เพราะจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐที่ไม่มีน้ำยารักษาความเป็นธรรม ล้มล้างชนชั้นนำชนชั้นปกครองที่กดขี่เอาเปรียบ และปกป้องชีวิตและทรัพย์สินให้ประชาชนไว้ได้  ที่สำคัญประวัติศาสตร์ขบวนการคนจนที่คิดจะเปลี่ยนแปลงประเทศแบบถอนรากถอนโคน นั้นมาจากอำนาจทุนอุปถัมภ์อำมาตย์ที่แผ่คลุม  ซึ่งตำนานวีรชนลุกฮือเช่นนี้ นั้นอาจจะมีขึ้นมาจริงๆ ได้บนประวัติศาสตร์ไทย

ก่อนสายใยจะขาดสะบั้น : พระไพศาล วิสาโล

ย้อนหลังไปเมื่อ ๑๐ ปีก่อน ไม่กี่วันหลังจากเปลี่ยนศักราชใหม่ ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่หลายประการที่สร้างความประหลาดใจและความตื่นเต้นแก่คนไทยค่อนประเทศ เมื่อผลการเลือกตั้งวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๔ ออกมา ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยได้สส.จำนวนกึ่งหนึ่งของสภา นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย ทำให้สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงท่วมท้นในสภาได้ แม้จะเป็นรัฐบาลผสมก็ตาม เป็นนิมิตหมายว่ารัฐบาลพลเรือนที่ขาดเสถียรภาพอันเป็นปัญหาเรื้อรังของการเมืองไทยกำลังจะกลายเป็นอดีต นั่นหมายความว่าการปฏิรูปการเมืองอันมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเป็นแม่บทกำลังจะบังเกิดผลแล้ว

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศพร้อมกับการสร้างความหวังให้แก่ประชาชนไทยว่าเมืองไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เขาไม่เพียงนำชัยชนะมาให้แก่พรรคไทยรักไทยโดยอาศัยนโยบายที่ “โดนใจ”ประชาชนเท่านั้น หากยังพยายามทำนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลตามที่สัญญา ไม่กี่เดือนหลังจากที่เขาได้นั่งทำเนียบ คนจนทั่วประเทศก็มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรค หลังจากนั้นนโยบายประชานิยมอื่น ๆ ก็ตามมา รวมทั้งกองทุนหมู่บ้าน และโครงการเอื้ออาทรนานาชนิด ใช่แต่เท่านั้นเขายังมีโครงการใหม่ ๆ อีกมากมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ของโลก ไม่ว่า ด้านอาหาร แฟชั่น การท่องเที่ยวและบริการ ฯลฯ การทำงานด้วยความรวดเร็ว ฉับไว และกล้าตัดสินใจ ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันความสามารถในการควบคุมพรรคให้เป็นเอกภาพ จนไม่มีกลุ่มก๊วนใดกล้าก่อคลื่นใต้น้ำ ทำให้ผู้คนมีความหวังว่าการเมืองไทยนับแต่นี้ไปจะเข้มแข็งและขับเคลื่อนเมืองไทยให้รุดหน้าอย่างมั่นใจท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกราก หลังจากที่ล้มฟุบไปพักใหญ่ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านไปเพียง ๕ ปี สถานการณ์ก็แปรเปลี่ยนไป ความหวังได้กลายเป็นความผิดหวังในหมู่ผู้คนเป็นอันมาก เสียงวิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มดังมากขึ้น โดยมีจุดร่วมอยู่ที่การใช้อำนาจในทางมิชอบของพ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวก และการคอร์รัปชั่นทางนโยบาย ความไม่พอใจขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนเกิดการชุมนุมประท้วงครั้งแล้วครั้งเล่า ผู้คนร่วมสมทบอย่างต่อเนื่องจนบางครั้งมีจำนวนเรือนแสน การเมืองที่เคยมั่นคงมีเสถียรภาพเริ่มเรรวนและปริร้าว เมืองไทยที่เคยรุดหน้าก็สะดุดหยุดกับที่ แม้จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ตรงข้ามกลับการแบ่งขั้วแบ่งข้างในหมู่ประชาชนที่สนับสนุนและต่อตานพ.ต.ท.ทักษิณปรากฏชัดเจนขึ้นทั่วประเทศ จนเกือบจะเป็นการเผชิญหน้า

การรัฐประหารที่ตามมา แม้จะยึดอำนาจจากพ.ต.ท.ทักษิณได้ แต่หาได้ทำให้บ้านเมืองสงบลงไม่ ตรงกันข้ามกลับแตกร้าวหนักขึ้นในทุกระดับและทุกวงการ ไม่เพียงมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในแวดวงระดับสูงเท่านั้น หากยังมีการเคลื่อนไหวมวลชนสนับสนุนชนชั้นนำทั้งสองฝ่าย ควบคู่ไปกับการผลักดันให้มีการเปลี่ยนระบบการเมืองตามอุดมการณ์ของตน ความพยายามที่จะช่วงชิงชัยชนะของแต่ละฝ่าย โดยไม่ยอมประนีประนอม นำไปสู่การประท้วงที่เข้มข้น ดุดัน ยืดเยื้อ อย่างไม่เคยมีมาก่อน เพื่อสร้างแรงกดดันอย่างหนักหน่วงให้แก่อีกฝ่าย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจากฝ่ายใด ยิ่งซ้ำเติมความรู้สึกเคียดแค้นชิงชังและผลักคนไทยให้กลายเป็นปฏิปักษ์ต่อกันยิ่งกว่าเดิม แต่สถานการณ์จะไม่เลวร้ายกว่านี้หากไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตร่วม ๑๒๐ คน บาดเจ็บร่วม ๓,๐๐๐ คน อันเป็นความสูญเสียที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีจากการชุมนุมประท้วงกลางกรุงเทพมหานคร มาถึงวันนี้ไม่ผิดหากจะกล่าวว่าผู้คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นอนาคตที่สดใสของเมืองไทย มีแต่ความหวาดวิตกว่าสิ่งเลวร้ายกำลังรออยู่ข้างหน้า

เมื่อปี ๒๕๔๔ คงไม่มีใครที่คิดว่าในชั่วเวลาเพียง ๑๐ ปี ความหวังของผู้คนจะเลือนหาย การเมืองไทยจะล้มลุกคลุกคลานและถอยหลังอย่างวันนี้ จะว่าไปแล้วความเสื่อมถอยดังกล่าวมิใช่ของใหม่สำหรับการเมืองไทยซึ่งผ่านรัฐประหาร-เผด็จการ และประชาธิปไตยครึ่งใบมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลาเกือบ ๘๐ ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และเป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งกว่าก็คือ สำนึกร่วมในความเป็นชาติ หรือสายใยที่เคยเชื่อมโยงผู้คนให้รู้สึกผูกพันกันและเกาะเกี่ยวอยู่ในชุมชนเดียวกันที่เรียกว่า “ชาติ” นั้น กำลังถูกบั่นทอนและใกล้จะขาดสะบั้น

เป็นที่รู้กันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาความแตกแยกอันเนื่องจากการแบ่งฝ่ายทางการเมืองได้เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางตั้งแต่ระดับครอบครัว ที่ทำงาน ชุมชน ละแวกบ้าน สถาบันหรือองค์กร (เช่น ทหาร ตำรวจ กระทั่งคณะสงฆ์) ไปจนถึงระดับจังหวัด แม้แต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ก็แบ่งเป็นขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน ความร้าวฉานได้เกิดขึ้นทั้งประเทศอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้

ขณะที่ความเห็นต่างทางการเมืองแพร่หลายและลงลึกนั้น สิ่งซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับนับถือ หรือเป็นจุดร่วมของผู้คนทั้งประเทศ นับวันจะรวมใจคนทั้งชาติได้น้อยลง ไม่สามารถยึดโยงหรือเชื่อมร้อยผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ยอมรับร่วมกันว่าเป็นวิถีทางแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่ดีที่สุด แต่ปัจจุบันกลับถูกปฏิเสธโดยคนจำนวนไม่น้อย ส่วนคนที่เหลือก็ตั้งคำถามกับสถาบันหรือกลไกระดับชาติ เช่น สถาบันตุลาการ หรือกระบวนการยุติธรรม และองค์กรอิสระ มิไยต้องเอ่ยถึงสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งสูญเสียศรัทธาของประชาชนไปนานแล้ว

มิใช่แต่จุดร่วมในเชิงการเมืองการปกครองเท่านั้น สิ่งที่เลือนหายไปจากเมืองไทยยังรวมถึงจุดร่วมในทางวัฒนธรรม จิตสำนึก หรือแม้แต่ผลประโยชน์ ทุกวันนี้ความเป็นไทยไม่สามารถหล่อหลอมผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ เพราะถูกตีความไปต่าง ๆ นานา จนแม้แต่ซื้อของฝรั่ง กินอาหารญี่ปุ่น แต่งตัวแบบเกาหลีก็ยังเรียกว่าเป็นไทยได้อย่างเต็มปาก สิ่งที่รัฐกำหนดให้เป็น “วัฒนธรรมแห่งชาติ” (รวมทั้งภาษาไทยแบบมาตรฐาน)แทบไม่มีความหมายในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับสถาบันแห่งชาติอีกมากมายที่ขาดการยอมรับอย่างกว้างขวาง

กระทั่ง “ผลประโยชน์แห่งชาติ” นับวันจะมีความหมายพร่าเลือนและขาดมนต์ขลัง ไม่สามารถเชิญชวนเรียกร้องให้ผู้คนพร้อมใจเสียสละได้ เพราะไม่เชื่อว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นจะตกแก่ส่วนรวม มิใช่แค่แก่คนบางกลุ่มเท่านั้น ขณะที่อีกส่วนหนึ่งรู้สึกว่า ประเทศชาติมิใช่เป็นของตน ไม่รู้สึกร่วมใน “ชาติ”ที่ผู้ปกครองประเทศเอ่ยอ้างถึง ด้วยเหตุนี้เสียงกระตุ้นให้ “รักชาติ” จึงไม่สามารถระดมผู้คนให้สมัครสมานสามัคคีได้เหมือนก่อน ในขณะที่หลายคนตั้งคำถามว่ารักชาติแล้วได้อะไร เพราะปากท้องของตนสำคัญกว่า ส่วนจำนวนไม่น้อยถามว่ารักชาติไปทำไม ในเมื่อทุกครั้งที่มีเสียงเรียกร้องให้รักชาติเสียสละเพื่อประเทศ พวกเขากลับต้องสูญเสียที่ดิน พลัดที่นาคาที่อยู่ และมีชีวิตลำบากมากขึ้น ส่วนคนอื่นกลับอยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายกว่าเดิม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนเสื้อแดงที่มาชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปีที่แล้ว มีเพียงร้อยละ ๒ เท่านั้นที่ตอบว่าตนเป็น “ผู้รักชาติ” (ประภาส ปิ่นตบแต่ง “การลุกขึ้นสู้ของคน “ยอดหญ้า”: บทวิเคราะห์ในเชิงมิติการเมืองใน แดง ทำไม (สำนักพิมพ์ openbooks) ) เชื่อแน่ว่าทัศนคติดังกล่าวยังเกิดแก่คนกลุ่มอื่นที่อยู่ในระดับล่างของสังคม ไม่จำเพาะกับคนเสื้อแดงเท่านั้น

สำนึกร่วมในความเป็นชาติกำลังเลือนหาย สายใยที่ยึดโยงผู้คนให้รู้สึกถึงความเป็นเพื่อนร่วมชาติ หรือมีชะตากรรมร่วมกันในประเทศนี้ กำลังขาดสะบั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้แสดงตัวอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็มิได้หมายความว่ามันเป็นผลพวงจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณกับฝ่ายตรงข้าม แท้ที่จริงปัญหาดังกล่าวมีความเป็นมาที่ยาวไกลกว่านั้น และเชื่อมโยงกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่ฝังรากลึกมานาน ประสมกับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นแต่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาได้ซ้ำเติมปัญหานี้ให้รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อสาวไปให้ถึงที่สุด ก็จะพบว่าความขัดแย้งนี้มีรากเหง้าอันเดียวกันกับปัญหาดังกล่าว

การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาตลอด ๕๐ ปี แม้จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนรายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นถึง ๕๐ เท่า (จาก ๒,๒๓๘ บาทในปี ๒๕๐๓ เป็น แสนบาทเศษในปัจจุบัน) แต่ในเวลาเดียวกัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่เติบใหญ่จากการพัฒนาดังกล่าวก็ทำให้ ช่องว่างระหว่างคนไทยด้วยกันถ่างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปี ๒๕๔๙ พบว่า กลุ่มคนรวยสุดมีทรัพย์สินมากเป็น ๖๙ เท่าของกลุ่มคนที่จนสุด ยิ่งกว่านั้นยังพบว่า ร้อยละ ๔๒ ของเงินฝากในธนาคารทั้งประเทศ (ซึ่งมีค่าประมาณ ๑ ใน ๓ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ) เป็นของคนเพียง ๓๕,๐๐๐ คนเท่านั้น ( ประมาณ ๑ ใน๒๐๐๐ ของประชากรทั้งประเทศ) หรืออาจน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ

เห็นได้ชัดว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีสูงมาก สิ่งที่ตามมาอย่างหลากเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่เกิดกับคนระดับล่าง อาทิ การถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้รับความเสมอภาคตามกฎหมาย ไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับคนที่รวยกว่า (เช่น โอกาสในการศึกษา การเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือทรัพยากรของรัฐ ) รวมทั้งต้องเป็นประสบกับการใช้อำนาจบาตรใหญ่ หรือการดูถูกเหยียดหยามแม้กระทั่งจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ในบริบทเช่นนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณจึงได้รับความนิยมอย่างล้นหลามเมื่อผลักดันนโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคนระดับล่าง อาทิ ชาวนา ชาวไร่ แรงงานนอกระบบ และผู้ประกอบการรายย่อย คนเหล่านี้ไม่เพียงถูกละเลยจากรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าก่อนหน้านั้นเท่านั้น หากยังเป็นผู้รับภาระจากการพัฒนาเศรษฐกิจตลอด ๕๐ ปีที่ผ่านมามากกว่าคนกลุ่มใด อีกทั้งยังได้รับประโยชน์น้อยมากจากโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองที่เป็นอยู่ ตรงข้ามกับคนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ภายใต้โครงสร้างที่มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากเช่นนี้ รัฐบาลทักษิณจึงกลายเป็นความหวังของประชาชนระดับล่าง ซึ่งไม่เพียงกระจายหยิบยื่นผลประโยชน์จากส่วนกลางมาให้แก่พวกเขาอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น หากยังช่วยปราบปรามผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีที่พึ่งพาในยามที่มีปัญหากับข้าราชการที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ดังนั้นแม้เสียงวิจารณ์รัฐบาลทักษิณจะดังเพียงใด มีการประท้วงต่อต้านหนักขนาดไหน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจพวกเขาได้

การก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากพ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดจนการพยายามกำจัดเขาและพรรคพวกออกจากวงการเมืองด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ตอกย้ำให้คนระดับล่างจำนวนไม่น้อยที่สนับสนุนเขารู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม หรือ “สองมาตรฐาน” ที่มีอยู่ในประเทศ แต่ถึงจะไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าว ความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในหมู่คนระดับล่างก็มีอยู่แล้ว และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น จนอาจถึงกับเกิดความรู้สึกว่าประเทศชาตินี้มิใช่เป็นของเขา เขาเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น

ควบคู่กับความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างสนิทใจ ก็คือความรู้สึกเหินห่างจนถึงกับแปลกแยกระหว่างคนในชาติด้วยกัน โดยเฉพาะระหว่างคนรวยกับคนจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มากล้นและโอกาสที่แตกต่างกัน ทำให้คนสองกลุ่มมีวิถีชีวิตที่ต่างกันราวฟ้ากับดิน มีรสนิยมและความคิดไปคนละทาง คนรวยในไทยกลับมีความรู้สึกใกล้ชิดกับคนรวยในสิงคโปร์หรืออังกฤษ มากกว่าที่จะรู้สึกใกล้ชิดกับคนจน(หรือแม้แต่คนชั้นกลางระดับล่าง)ที่เป็นไทยด้วยกัน สภาพเช่นนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “หนึ่งรัฐ สองสังคม” คือแม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ผู้คนแตกขั้วออกเป็นสอง

ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่เป็นธรรมในสังคม ทำให้สังคมแตกตัวหรือแบ่งแยกในแนวตั้งตามระดับรายได้ คือ รวยกับจน กระแสโลกาภิวัตน์ที่ไหลบ่าก็ทำให้เกิดการแตกตัวในแนวราบ กล่าวคือ แม้ในหมู่คนรวย หรือคนชั้นกลางที่มีรายได้ระดับเดียวกัน ก็ยังมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามรสนิยม การดำเนินชีวิต ความคิดความเชื่อ และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ผู้คนเข้าถึงสื่อที่หลากหลาย (โทรทัศน์ ๑๐๐ ช่อง เว็บไซต์นับล้าน) และมีทางเลือกมากมายในการบริโภค (เสื้อผ้านับพันยี่ห้อ) ในเวลาเดียวกันการเปิดตลาดเสรีก็นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีอาชีพหลากหลายมากขึ้น จึงมีวิธีคิดและผลประโยชน์แตกต่างกันมากขึ้น ยิ่งคบค้าสมาคมในกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิต รสนิยม ความคิดความเชื่อและผลประโยชน์ที่คล้ายกัน ก็ยิ่งเกิดความเหินห่างจนอาจถึงกับแปลกแยกกับคนกลุ่มอื่นที่มีวัฒนธรรมหรือผลประโยชน์ต่างกัน ทั้งนี้ยังไม่ต้องเอ่ยถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจไร้พรมแดนตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้คนรวยได้รับประโยชน์มากขึ้น ในขณะที่คนระดับล่างเดือดร้อนยิ่งกว่าเดิม (เช่น เกษตรกรเชียงใหม่ขายกระเทียมไม่ออกเนื่องจากถูกกระเทียมจากจีนตีตลาด) จึงยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำและขยายช่องว่างระหว่างคนในชาติให้ถ่างกว้างขึ้น

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและผลประโยชน์ไม่จำเป็นต้องหมายถึงความแตกแยกของสังคมหรือคนในชาติ แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความไม่เป็นธรรมในสังคมนั้นเป็นปัญหาอย่างแน่นอน เพราะสามารถบั่นทอนสายใยแห่งความเป็นชาติได้ ทำให้ผู้คนรู้สึกเหินห่างหมางเมิน หรือเกิดอคติต่อกันจนกลายเป็นความเคียดแค้นชิงชัง เพียงแค่มีสิ่งกระตุ้นเร้าความโกรธเกลียด ผู้คนก็สามารถทำร้ายเข่นฆ่ากันได้

การเรียกร้องให้รักชาติ หรือให้คนไทยสามัคคีกันนั้น ไม่มีประโยชน์ตราบใดที่ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมยังดำรงอยู่และตอกย้ำให้ผู้คนมีความรู้สึกนึกคิดในทางตรงข้าม สำนึกร่วมในความเป็นชาติจะมั่นคงเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องสาวไปให้ถึงตัวการสำคัญที่ทั้งเสริมสร้างและค้ำจุนความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด นั่นคือโครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ไว้กับส่วนกลาง

หลายทศวรรษที่ผ่านมาการรวมอำนาจที่ส่วนกลาง ได้เอื้อให้คนส่วนน้อยใช้อำนาจนั้นในการวางนโยบายและจัดการทรัพยากรเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มของตัว โดยผลักภาระให้แก่คนระดับล่าง ซึ่งมักลงเอยด้วยการสูญเสียทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต จนต้องละทิ้งวิถีชีวิตดั้งเดิมของตน ขณะเดียวกันแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่ออกมาจากส่วนกลาง ยังทำให้ท้องถิ่นอ่อนแอลง ไม่สามารถจัดการตนเองแม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน ผลก็คือ นอกจากช่องว่างระหว่างผู้คนในสังคมจะถ่างกว้างขึ้นแล้ว ยังเกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่างเมืองหลวง ฯ กับเมืองอื่น จนเป็นปัญหาเรื้อรังกระทั่งทุกวันนี้

ทางออกก็คือการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ โดยให้กระจายสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการชีวิตและชุมชนของตนได้ ประโยชน์ย่อมจะตกแก่คนในท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม ขณะเดียวกันศักยภาพที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องรับผิดชอบตนเอง จะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถปกป้องตนเองจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในยามนี้ที่รัฐบาลมีอำนาจน้อยลงในการปกป้องประชาชนจากอิทธิพลข้ามชาติ (แม้จะยังมีอำนาจบังคับบัญชาประชาชนอยู่มากก็ตาม)

นี้เป็นประเด็นที่คณะกรรมการปฏิรูปซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานให้ความสำคัญมาก ดังได้เสนอให้มีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค แล้วโอนอำนาจการบริหารจัดการตนเองไปให้ท้องถิ่นตั้งแต่ระดับจังหวัดลงไปจนถึงตำบล กล่าวคือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดการทรัพยากรท้องถิ่น เป็นผู้จัดการศึกษา ดูแลรักษาความสงบพื้นฐาน และวางแผนพัฒนาเอง รวมทั้งมีอำนาจในการจัดระบบการคลังของตน เช่น การลงทุน การกู้ยืม การร่วมทุน ตลอดจนมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีบางประเภท

นอกจากการโอนอำนาจการจัดการตนเองให้อปท. แล้ว รัฐยังต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับอปท.ในการบริหารจัดการตนเองด้วย ทั้งในด้านทรัพยากร ศิลปวัฒนธรรม การให้บริการสาธารณะ และการวางแผนพัฒนา อีกทั้งยังสามารถกำกับตรวจสอบอปท.ได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้อำนาจที่กระจายจากส่วนกลาง มากระจุกอยู่ที่อปท. แต่ยังกระจายไปถึงประชาชนอย่างแท้จริง

การปฏิรูปตามแนวทางดังกล่าว จะช่วยให้ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเพราะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การศึกษาจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากขึ้น แทนที่จะสนองนโยบายจากส่วนกลางอย่างที่เป็นอยู่ วัฒนธรรมซึ่งเคยถูกครอบงำจากส่วนกลาง จะฟื้นฟูและทำให้ประชาชนมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น การพัฒนาท้องถิ่นจะตอบสนองประโยชน์ของท้องถิ่นเป็นหลัก

การให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการจัดการตนเอง ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมและผลประโยชน์แตกต่างกันมาต่อรองและจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในท้องถิ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันการใช้อิทธิพลจากภายนอกเพื่อแย่งชิงทรัพยากรท้องถิ่นก็จะลดลง ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากส่วนกลางหรือทุนขนาดใหญ่ก็ตาม วิธีนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้มากขึ้น แทนที่จะถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียว โดยอาศัยข้อตกลงที่ทำไว้กับส่วนกลาง หรืออาศัยอำนาจจากรัฐบาล อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

อำนาจเมื่อกระจายสู่ท้องถิ่น ย่อมก่อให้ความเปลี่ยนแปลงที่ส่วนกลาง จากเดิมที่เคยใช้อำนาจกับท้องถิ่น ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการปรึกษาหารือหรือชักจูงโน้มน้าวแทน พร้อมกันนั้นก็ทำให้การเมืองระดับชาติที่มุ่งชิงอำนาจจากส่วนกลาง มีความเข้มข้นดุเดือดหรือเอาเป็นเอาตายน้อยลง เพราะอำนาจและผลประโยชน์ที่จะได้จากการเป็นรัฐบาลจะลดลง

วิพากษ์สื่อหลักจากสายตาคนอ่านสื่อ

ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนนักแปลอิสระ กล่าวในการเสวนา “สื่อพลเมืองความจำเป็นแห่งยุคสมัย” วิพากษ์ข้อจำกัดสื่อหลักคือ การเซ็นเซอร์ตัวเอง ด้วยข้อจำกัดเรื่องทุน สปอนเซอร์ และการเซ็นเซอร์ตัวเอง ขณะที่คำว่า “ความเป็นกลาง” เพิ่งถูกใช้เมื่อข่าวถูกธุรกิจครอบงำโดยภัควดี ตั้งข้อสังเกตว่า แม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสื่อหลักขายข่าวให้กับคนอ่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น

"สื่อกระแสหลักไม่ได้ขายข่าวให้ผู้บริโภค แต่ขายผู้บริโภค (คนอ่าน) ให้กับบริษัทธุรกิจเพื่อซื้อโฆษณา” ภัควดีตั้งข้อสังเกตพร้อมกล่าวต่อไปว่า การอยู่รอดของสื่อหลักไม่ได้อยู่ที่ผู้ซื้อข่าว หากแต่อยู่ที่บริษัทที่จะซื้อโฆษณา และนี่เป็นข้อจำกัดข้อแรกของสื่อหลักคือการไม่สามารถปฏิเสธทุนนิยมได้

ข้อจำกัดประการต่อมา คือ พื้นที่สื่อมีจำกัด และตัดสินปัญหาเป็นขาวเป็นดำ การนำเสนอต้องง่าย และหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือนิตยสารก็ถูกจำกัดความยาว ถ้าเป็นโทรทัศน์ก็ถูกจำกัดเวลาในการนำเสนอ ซึ่งภัควดีเห็นว่าสื่อนอกกระแส มีโอกาสในเรื่องการนำเสนอมากกว่าในแง่การนำเสนอยาวๆ

ปัญหาสื่อกระแสหลักอีกอย่างคือ มีสาระมากไม่ได้ ต้องบันเทิงควบคู่ไป “เราสังเกตได้ว่าทอล์กโชว์ในสื่อกระแสหลักจะจริงจังมากไม่ได้ ต้องมีตลกโปกฮาเข้ามาด้วย รายการถึงจะดังและมีคนดู แม้แต่รายการของสรยุทธ์ (สุทัศนะจินดา)”
ภัควดี กล่าวต่อไปว่า สื่อกระแสหลักของไทยมีลักษณะคล้ายอเมริกา คือสนใจแต่ปัญหาในบ้านตัวเอง แต่รู้เรื่องต่างประเทศน้อยมาก

“ข่าวในบ้านตัวเองนั้นทำข่าวละเอียดมาก เช่นประยุทธ์ (จันทร์โอชา)พูดอะไร เฉลิม (อยู่บำรุง)พูดว่าอะไร แต่เรารู้เรื่องต่างประเทศน้อยมาก และจะรู้เรื่องประเทศเพื่อนบ้านน้อยลงอีก ข่าวที่ทำก็จะเกาะตามซีเอ็นเอ็นไป เรารู้เรื่องเพื่อนบ้านน้อยมากทั้งๆ ที่ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเรา และเมื่อเรารู้เกี่ยวกับต่างประเทศน้อย ก็ไม่มีข้อมูลที่จะเปรียบเทียบ ไม่สามารถเข้าใจเรื่องในแง่มุมอื่นๆ เช่น กรณีที่อาจารย์เคร็ก เรย์โนลด์ตั้งคำถามว่า การพูดว่าเมืองไทยซื้อเสียงมาก ขณะที่สิงคโปร์เลือกตั้งเสร็จเอาเงินเข้าบัญชีประชาชนเลย อย่างนี้ซื้อเสียงหรือเปล่า”

ข้อสังเกตอีกประการคือ สื่อกระแสหลักสะท้อนทัศนคติของชนชั้นนำ เช่นเรื่อง การค้าเสรี ระบบทุนนิยม การบริโภค เศรษฐกิจพอเพียง กลายเป็นไฟต์บังคับที่ต้องนำเสนอ ขณะที่ประชาชนคิดอย่างไร เห็นด้วยกับเศรษฐกิจพอเพียงไหม ความคิดที่โต้แย้งเหล่านี้ไม่มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลัก

ประการต่อมา คือการเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล “อะไรที่ดรามา ฟูมฟาย แม้แต่รายการข่าวทีวีไทยนี่ชอบมาก เช่น กรณีน้องเคอิโงะ มันโยงประเด็นไปใหญ่กว่านี้ได้ เช่นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง แต่ไปจับประเด็นที่ทำให้น้ำหูน้ำตาไหลไว้ก่อน”

อีกประการคือ ไม่มีค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอ่าน แม้ว่าหลังๆ จะมีการเปิดพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น แต่คนที่ทำได้สำเร็จพอสมควรคือเว็บไซต์เมเนเจอร์ คือการดึงคนเข้ามาทำให้คนได้รู้สึกว่ามีปฏิสัมพันธ์ โดยเฉพาะคอลัมนิสต์อย่างซ้อเจ็ด

“ 'ผู้จัดการ' ฉลาดในการใช้ช่องทางพวกนี้ และทำให้คนอ่านที่แม้จะไม่เห็นด้วยก็ต้องการจะตอบโต้ แต่เมื่อก่อนนี้โอกาสที่คนดูจะตอบโต้กับการเสนอข่าวน้อย หรือทำไม่ได้เลย แต่ปัจจุบันทำได้มากขึ้นโดยสื่อสิ่งพิมพ์ทำออนไลน์มากขึ้น หรือกรณีที่รายการโทรทัศน์เปิดให้คนดูแสดงความเห็น เช่น sms แต่ก็ถูกเซ็นเซอร์”

ประเด็นต่อมาคือการเซ็นเซอร์ตัวเอง ที่มาจากหลายปัจจัย เช่นกลัวไม่ได้สปอนเซอร์ทั้งจากภาคธุรกิจ จากรัฐบาลที่มีความเป็นเผด็จการ หรือแม้แต่ปัญหาของนักข่าวที่ไม่เป็นกลาง แต่อยากทำตัวให้เหมือนเป็นกลาง แต่ข่าวบางด้านไม่ได้รับการนำเสนอ หรือในบางกรณีที่นักข่าวต้องใช้เส้นสายในการเข้าถึงแหล่งข่าวทำให้เกิดประโยชน์ต่างตอบแทน เขียนข่าวบางอย่างที่แหล่งข่าวอยากให้เขียน หรือไม่เขียนบางอย่างที่แหล่งข่าวไม่อยากให้เขียน เป็นต้น

ภัควดี กล่าวว่า แม้สื่อทางเลือก และนักข่าวพลเมืองจะพยายามเข้าไปใช้พื้นที่ของสื่อกระแสหลักในการนำเสนอปัญหาของประชาชน แต่กลับล้มเหลวในการผลักดันประเด็น หรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการแก้ปัญหา เพราะกลไกรัฐไทยมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ข่าวเล็กๆ จากพื้นที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้

“ปัจจุบันปัญหาก็คือ ทุกอย่างไปขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ไปขึ้นอยู่กับที่กรุงเทพฯ แต่ถ้าเปลี่ยน เช่น หากเรานึกถึงญี่ปุ่น คือการตัดสินใจในประเด็นหลายอย่าง เกิดขึ้นที่ศาลากลางจังหวัด การทำข่าวจะมีผลมากต่อความเปลี่ยนแปลง การทำข่าวจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปเลย การทำข่าวจะมีอิทธิพลได้ และกำหนดนโยบายได้ทันที และเมื่อทุกอย่างขึ้นกับส่วนกลาง การผลักดันนโยบายก็ทำไม่ได้ เพราะการต่อรองเป็นลำดับชั้นลงมา” ภัควดีกล่าวและย้ำว่า ดังนั้นแล้ว สำหรับสื่อภาคพลเมืองนั้น ต้องทำเรื่องที่ใหญ่กว่าประเด็นในพื้นที่ด้วย

สำหรับวิธีเขียนข่าวของสื่อพลเมืองที่อาจกังวลเรื่องความน่าสนใจของเรื่องนั้น ภัควดี กล่าวว่า การเขียนให้น่าสนใจขึ้นกับวัฒนธรรมการอ่านของประเทศ และไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่งของประเทศ ที่คนในประเทศไม่ได้ชอบอ่านหนังสือ

ภัควดีกล่าวในประเด็นสุดท้ายว่า เรามักได้ยินว่าจรรยาบรรณนักข่าวคือความเป็นกลาง แต่ตั้งคำถามว่า ความเป็นกลางที่ว่านั้นเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่ โดยภัควดีกล่าวว่า อาชีพนักข่าวหรือสื่อมวลชนเพิ่งเกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 18-19 นี่เอง และผู้สื่อข่าวในยุคแรกๆ เช่น จอร์จ ออร์เวล ที่ทำข่าวสงครามกลางเมืองสเปน หรือติโต อาดี สุรโย ในอินโดนีเซีย ไม่เคยมีความเป็นกลาง รายงานข่าวโดยเข้าข้างฝ่ายที่เขาคิดว่าถูกอย่างชัดเจน คือพูดถึงความยุติธรรมและความถูกต้อง

“ความเป็นกลางเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจครอบงำสื่อหมดแล้ว ต้องการให้นักข่าวเกิดความเป็นกลาง ไม่ยอมให้ตัดสินอะไร ต้องให้นักข่าวรายงานเฉยๆ แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ที่คนจะเป็นกลาง ลึกๆ แล้วต้องเข้าข่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และคำว่าเป็นกลางยังกลายมาเป็นข้ออ้างในการเซ็นเซอร์ประเด็นที่ตัวเองไม่เห็นด้วย”

ภัควดีกล่าวว่า สำหรับสื่อท้องถิ่นนั้น ต้องเป็นปากเป็นเสียงให้คนที่ไม่เคยมีเสียง และพยายามชี้ถูกชี้ผิด และบอกชัดเจนเลยว่าเข้าข้างฝ่ายไหน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายที่ตนเองเข้าข้าง

“พูดให้ชัดๆ ไม่มีลักษณะปกปิด แต่เวลาพูดว่าไม่เป็นกลาง ไม่ได้แปลว่าไม่วิพากษ์วิจารณ์นะคะ เช่น เราสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน หรือการใช้โฉนดชุมชน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่วิจารณ์ข้อเสียของโฉนดชุมชน” ภัควดีกล่าวในทึ่สุด

การเสวนา “สื่อพลเมือง ความจำเป็นแห่งยุคสมัย” เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักข่าวพลเมือง TCIJ (ภาคเหนือ) ที่โรงแรม สินธนารีสอร์ต เชียงใหม่ โดยศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนสอบสวนแห่งประเทศไทย

นโยบายที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปี

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพื้นที่ที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปีของรัฐบาล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังนี้

1. ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน

2. ด้านสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง และยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายช่องการตลาด รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการที่มีเทคโนโลยี สูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ มีการจ้างงานที่เต็มที่ รวมทั้งมีความระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ระหว่างประเทศ และมีการส่งเสริมการสร้างรายได้ภายในประเทศ โดยการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพแวดล้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการตลาด ภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรี

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการขนส่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสในกระจายรายได้ และการกระจายการลงทุนไปสู่ชนบท เป็นต้น

4. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งปฏิรูประบบการ ผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพ เร่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การกระจายครูเพื่อขจัดปัญหาการขาดแคลนครูใน สาขาวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา ด้านการคุ้มครองแรงงานรัฐบาล ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน และหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน

รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิ ประโยชน์ในการประกันสังคมให้มากขึ้น และขยายความคุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ ที่รัฐจะต้องดูแลภายใต้ระบบคุ้มครองแรงงาน การจัดสวัสดิการ และบริการทางสังคม แก่ผู้ด้อยโอกาส และคนยากจนให้ทั่วถึง รวมทั้งยังเร่งยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ทั้งระบบและเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี 2558

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพให้บริการสุขภาพทั้งระบบโดยการเร่ง ผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ การจัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการป่วยตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านผลิตภัณฑ์และการบริการด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาล ในภูมิภาคเอเชีย

5. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากร การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ และการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับต่อผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ

6. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมบนฐานความรู้ โดยการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ร่วมทั้งเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

7. ด้านต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558

8. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการเน้นการบริหารงานเชิงกลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบ บริหารงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาสรวมทั้งส่ง เสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม

การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

เมื่อพิจารณากันในบริบทปัจจุบันเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยก็ถือได้ว่าได้จัดการให้มีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อเทียบกับในอดีต จะด้วยเหตุผลใดก็ตามถือได้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้ก้าวหน้ามามากพอสมควร สำหรับบทความชิ้นมีเขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยเหตุผลที่ว่า ประการ *** เป็นการสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งส่วนนี้จะเป็นรากฐานที่ดี(อยู่บ้าง) ที่จะทำให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น(กว่าปัจจุบัน) ประการต่อมา ด้วยเหตุดีในประการ *** กอรป กับการเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นว่ามีเต็มพื้นที่ของประเทศแล้ว ด้วยหลักอรรถประโยชน์เราควรจะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นแล้ว(การทำให้มันเกิดมีขึ้นน่าจะวางอยู่บนเหตุผลที่ว่า มันดีจึงให้มันเกิดขึ้นมา) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราควรจะทำให้มันเป็นผลดีขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ประโยชน์จากมันได้ดีที่สุด (ทดแทนสิ่งที่คิดว่ามันไม่ดี)
สำหรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเราสำหรับบทความนี้ก็คงไม่ต้องสาธยายอะไรให้มันต้องพิสดารนัก จะกล่าวเข้าไปถึงหลักใหญ่ของบทความนี้เลย ซึ่งจุดมุ่งหมายของบทความนี้ต้องการที่จะเสนอรูปแบบแนวคิดในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินเต็มรูปแบบ(คนละอย่างกับที่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ที่ปฏิรูประบบราชการไปแล้วซึ่ง ผู้เขียนมองว่า เป็นการปฏิรูปที่เน้นหนักไปที่ส่วนกลางหรือโครงสร้างส่วนบน)
ทราบกันดีว่าไทยเราแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ(แต่ต้องใช้พระราชบัญญัติมากกว่า หนึ่งฉบับในการจัดการ เช่นพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆภายใต้พระราชบัญญัติต่างๆที่อยู่ในกลุ่มของการปกครองส่วนท้องถิ่นมั้ง)เอาหละว่ากันต่อเลย
จะว่ากันในลักษณะที่เกี่ยวพันกับท้องถิ่นไปเลย ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่ทำให้ผู้เขียนคิดจะเขียนขึ้นมาก็คือ ประเด็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ต้องลากยาวแก้กันทั้งเซ็ต แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ค่านิยมและวัฒนธรรมของข้าราชการไทย(รวมถึงคนไทยด้วย) นั่นคือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีมาก่อนอันนี้ก็จะขอยอมรับไว้ก่อนสำหรับบทความนี้ว่าอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของส่วนนี้มากนัก แต่จะไปเน้นหนักตรงที่รูปแบบโรงสร้างก่อน เอาหละนะ
อบจ.กับจังหวัดพื้นที่เดียวกันชัดเจน หน้าที่จะเหมือนกันบ้างต่างกันบางก็แล้วแต่โอกาส แต่ที่แน่ๆเมื่อมันเป็นพื้นที่เดียวกันมองอย่างแคบเลยว่ามันทับซ้อนกันอยู่ อย่างกว้างก็อาจจะอธิบาย

เตือนภัย! โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง

สำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลายรองเท้าส้นสูงถึงว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเสริมบุคคลิกของคุณสาวๆ ได้เป็นอย่างดี แต่คุณรู้ไหมค่ะว่าโรคที่มากับรองเท้าส้นสูงก็มีเหมือนกันนะค่ะ การที่ผู้หญิงใส่รองเท้าส้นสูงก็อาจจะเนื่องมากจากสถานที่ในการทำงาน ในกลุ่มสังคม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่การใส่รองเท้าส้นสูงสำหรับสาวๆ นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เพราะไม่ว่าคุณจะมีรูปร่าง แบบไหนการใส่รองเท้าส้นสูงก็คือความนิยมสำหรับสาวๆ เสมอ วันนี้เราก็เลยมีเรื่องน่ารู้ๆ เกี่ยวกับ โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง หลายๆ คนคงจะไม่อยากเชื่อใช่ไหมหล่ะค่ะว่าการใส่รองเท้าส้นสูงก็เป็นอันตราย ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราจะพาคุณสาวๆ ทั้งหลายไปดู โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง กันเลยดีกว่านะค่ะ จะได้เป็นอีกหนึ่งความรู้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณนะค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราก็ไปุ โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง น่ารู้ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

3 โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง

1. กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวาย

ในขณะที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงคุณสาวๆ ต้องยืนอยู่ในท่าเขย่งซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในท่านี้เป็นเวลานานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวายตึงและหดสั้น สังเกตได้จากอาการปวดน่องบ่อยๆ จากการเดินหรือการเป็นตะคริว

2. โครงสร้างของเท้า

เมื่อกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวายหดสั้นอยู่บ่อยๆ จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างของเท้า เมื่อยืนด้วยเท้าเปล่าจะเห็นว่าเท้าแบนทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอุ้งเท้าและส้นเท้าจนกลายเป็นปัญหาฝ่าเท้าตามมา

3. กระดูกสันหลัง

การใส่รองเท้าส้นสูงทำให้ปลายเท้าส่วนหน้าต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายไว้เกือบทั้งหมดเพื่อให้สามารถยึดตัวให้ตั้งตรงและทรงตัวได้ ในขณะเดียวกันสรีระของร่างกายก็จะปรับให้อวัยวะส่วนหลัง บริเวณช่วงเอวแอ่นไปด้านหลังส่งผลให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อจนถึงขั้นปวดหลังในที่สุด

สิ่งที่เรามองข้าม

บทความนี้เขียนขึ้นโดย จอร์จ คอลลิน ซึ่งเป็นดาราตลกที่โด่งดัง เขาเขียนขึ้นในวันที่ 11 กันยายน (ตึกเวิรด์เทรดถล่ม) หลังจากที่ทราบว่าภรรยาของเขาเสียชีวิตในตึกนั้นด้วย.. ทำ..ในสิ่งที่อยากจะทำ อยากให้ทุกคนได้อ่าน ข้อความนี้ มีความหมายดีนะ
ทุกวันนี้เรามีตึกสูงขึ้น มีถนนกว้างขึ้นแต่ความอดกลั้นน้อยลง
เรามีบ้านใหญ่ขึ้น แต่ครอบครัวของเรากลับเล็กลง
เรามียาใหม่ ๆ มากขึ้น แต่สุขภาพกลับแย่ลง
เรามีความรักน้อยลง แต่มีความเกลียดมากขึ้น
เราไปถึงโลกพระจันทร์มาแล้ว แต่เรากลับพบว่า
แค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น…………
เราพิชิตห้วงอวกาศมาแล้ว แต่แค่ห้วงในหัวใจกลับไม่อาจสัมผัสถึง
เรามีรายได้สูงขึ้น แต่ศีลธรรมกลับตกต่ำลง
เรามีอาหารดี ๆ มากขึ้นแต่สุขภาพแย่ลง
ทุกวันนี้ทุกบ้านมีคนหารายได้ได้ถึง 2 คน แต่การหย่าร้างกลับเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น……จากนี้ไป……ขอให้พวกเรา อย่าเก็บของดี ๆ ไว้โดยอ้างว่าเพื่อโอกาสพิเศษ
เพราะทุกวันที่เรายังมีชีวิตอยู่คือ ……โอกาสที่พิเศษสุด……แล้ว
จงแสวงหา การหยั่งรู้
จงนั่งตรงระเบียงบ้านเพื่อชื่นชมกับการมีชีวิตอยู่ โดยไม่ใส่ใจกับความ…..อยาก…
จงใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูงคนที่รักให้มากขึ้น…….
กินอาหารให้อร่อย ไปเที่ยวในที่ที่อยากจะไป
ชีวิตคือโซ่ห่วงของนาทีแห่งความสุขไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ให้รอด
เอาแก้วเจียระไนที่มีอยู่มาใช้เสีย
น้ำหอมดี ๆ ที่ชอบ จงหยิบมาใช้เมื่ออยากจะใช้
เอาคำพูดที่ว่า…….สักวันหนึ่ง……..ออกไปเสียจากพจนานุกรม
บอกคนที่เรารักทุกคนว่าเรารักพวกเขาเหล่านั้นแค่ไหน
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ที่จะทำอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น
ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที มีความหมาย
เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะสิ้นสุดลง
และเวลานี้….

28 ข้อคิดในการใช้ชีวิต

28 ข้อคิดในการใช้ชีวิต เป็นข้อคิดที่เก็บไว้เมื่อนานมาแล้ว แต่เมื่อเอามาอ่านอีกทีก็พบว่ายังเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่ควรแบ่งปันให้รับรู้โดยทั่วกัน ได้มาจากฟอเวิร์ดเมล์เมื่อนานมาแล้ว ลองอ่านกันดูนะ
1.อย่าทำลายความหวังของใคร เพราะทั้งชีวิตเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้
2.เมื่อมีคนเล่าว่าเขามีส่วนร่วมในเหตุการณ์สำคัญ จง เป็นผู้ฟังที่ดีอย่าไปคุยทับ อย่าไปขัดคอ
3.จงตั้งใจฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเท่านั้น
4.หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ตามทางบ้างเพราะมีอะไรดีๆบางอย่างซ่อนอยู่
5.จะคิดทำการใดจงคิดการให้ใหญ่เข้าไว้ แต่ให้เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
6.หัดทำสิ่งดีๆให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัยโดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
7.จงจำไว้ว่า ข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8.เวลาเล่นเกมกับเด็กๆก็ปล่อยให้เด็กชนะไปเถอะ
9.ใครจะวิจารณ์เรายังงัยก็ตาม อย่าเสียเวลาไปโต้ตอบ แต่ให้ปรับปรุงตนเอง
10.จงให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ “สอง” แต่อย่าให้ถึง “สาม”
11.อย่าให้วิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานไม่มีความสุขก็ลาออกดีกว่า
12.ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้วอะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้แต่แรกหรอก
13.ใช้เวลาให้น้อยๆในการคิดว่า”ใครผิด” แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า”อะไร” เป็นสิ่งที่ผิด
14.จงจำไว้ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับ ” คนโหดร้าย ” แต่กำลังสู้กับ ” ความโหดร้าย ” ในตัวคน
15.โปรดคิด คิด คิด และคิดให้รอบคอบ ก่อนที่จะให้เพื่อนเรามีภาระในการเก็บรักษาความลับ
16.ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ เมื่อการแพ้นั้นจะทำให้เราชนะในสงครามใหญ่
17.เป็นคนถ่อมตน จำไว้ว่าคนอื่นทำอะไรต่อมิอะไรสำเร็จกันมามากมายก่อนเราเกิดเสียอีก
18.ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายสักเพียงใด จงสุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
19.มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ
20.อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นต้องเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามว่า ” เป็นไง?” ตอบไปเลยว่า ” สบายมาก”
21.อย่าพูดว่าเรามีเวลาไม่พอ เพราะทุกคนในโลกก็มีเวลาวันละ 24 ชม.เท่ากัน
22.จงเป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
23.ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานตนเอง ไม่ใช่มาตรฐานคนอื่น
24.จริงจัง และเคี่ยวเข็ญต่อตนเองให้มาก แต่จงอ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
25.ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่ว่างานนั้นจะดูแย่แค่ไหนในสายตาคนรอบข้าง
26.คำนึงถึงการมีชีวิตให้ ” กว้างขวาง ” มากกว่าการมีชีวิตเพื่อ ” ยืนยาว ”
27.(บางครั้ง) อย่าไปหวังเลยว่าในชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
28.ว่ากันว่ามี 3 สิ่งที่ไม่ควรถูกทำให้แตกหรือทำลาย ได้แก่ ของเล่นเด็ก คำสัญญาและจิตใจของใครๆ ก็ตาม